แจ้งเกิดและสัญชาติ

แจ้งเกิดและสัญชาติ

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 15 ม.ค. 2567

| 51,226 view
 
 

การจดทะเบียนคนเกิดและออกสูติบัตร

ตั้งแต่ 3 ม.ค. 2566 เป็นต้นไป สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการให้บริการสำหรับผู้ที่สำรองคิวล่วงหน้าทางระบบออนไลน์เท่านั้น

โดยบิดา หรือ มารดาสัญชาติไทยจะต้องเป็นผู้ลงทะเบียนสำรองคิวล่วงหน้าทางระบบออนไลน์ที่ https://rteseoul-q.consular.go.th 

ตรวจสอบวันนัดหมายได้ทางอีเมลที่ลงทะเบียนไว้ หรือที่ https://rteseoul-q.consular.go.th 

**จองคิวแจ้งเกิด 1 ครั้ง สำหรับเด็ก 1 คนเท่านั้น**

กรณีแจ้งเกิดระบุมารดาหรือบิดา เพียงคนเดียว กรุณาติดต่อผ่านทางอีเมล [email protected]

        เด็กสัญชาติไทยที่เกิดในเกาหลีใต้สามารถจดทะเบียนคนเกิดและออกสูติบัตรได้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล

  • บิดาและ/หรือมารดาที่มีสัญชาติไทยจะต้องเป็นผู้มายื่นคำร้องจดทะเบียนคนเกิดด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ (กรณีจดทะเบียนสมรส บิดาหรือมารดาที่มีสัญชาติไทยสามารถมาคนเดียวได้)
  • หลังยื่นคำร้องแล้วใช้เวลาดำเนินการ 7-10 วัน บิดาหรือมารดาสัญชาติไทยต้องมาตรวจสอบและลงชื่อรับสูติบัตรด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  • การรับรองเอกสาร(ยอง ซา ฮวัก อิน) จากกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้

เอกสารประกอบ

1. กรณีบิดามารดาสัญชาติไทยทั้งคู่

  1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงที่ยังไม่หมดอายุ ของบิดาและมารดา พร้อมสำเนา คนละ 1 ฉบับ
  2. หนังสือเดินทางตัวจริง ของบิดาและมารดา พร้อมสำเนา คนละ 1 ฉบับ
  3. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดาและมารดาอย่างละ 1 ฉบับ
  4. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่ต้องการเพิ่มชื่อเด็ก 1 ฉบับ
  5. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมรส 1 ฉบับ/ทะเบียนหย่า (หากมี)
  6. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/ชื่อสกุล/
  7. ใบเกิดตัวจริงภาษาอังกฤษจากโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ทำคลอด โดยใบเกิดต้องผ่านการรับรอง(ยอง ซา ฮวัก อิน) จากกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ และลงวันที่รับรองเอกสารไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่รับรองเอกสาร 1 ฉบับ

เอกสารใบเกิดจากโรงพยาบาลฉบับภาษาอังกฤษ สามารถนำไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศได้หลังจากได้คิวแจ้งเกิดที่แน่นอนแล้ว หรือสามารถทำได้ล่วงหน้าก่อนยื่นคำร้องได้อย่างน้อย 3 เดือน (นับอายุเอกสาร 3 เดือนจากวันที่ในตราประทับของกระทรวงการต่างประเทศ) แต่ต้องรับรองหลังจากได้คิววันที่แจ้งเกิดแล้ว

ไม่แนะนำให้นำเอกสารไปรับตราประทับที่กระทรวงการต่างประเทศในวันที่มีคิวแจ้งเกิด เนื่องจากหากไม่สามารถมาติดต่อยื่นเอกสารภายในเวลาที่จองคิวไว้ สถานเอกอัครราชทูตฯขอสงวนสิทธิ์ไม่รับคำร้อง และต้องสำรองคิวในระบบใหม่เท่านั้น

       - ชื่อและนามสกุลภาษาอังกฤษบิดา-มารดาจะต้องตรงตามชื่อในหนังสือเดินทาง

       - ชื่อภาษาอังกฤษของเด็ก จะต้องมีสะกดที่ถูกต้องและตรงกับการออกเสียงของชื่อในภาษาไทย

       - ชื่อเด็กให้ใช้ชื่อไทย และใช้นามสกุลมารดา (กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน) ถ้าจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้นามสกุลตามบิดาหรือมารดาก็ได้

       - หากบุตรเป็นบุตรนอกสมรสของมารดา (มารดายังไม่ได้จดทะเบียนหย่า และไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดา) บุตรจะต้องใช้นามสกุลก่อนสมรสของมารดา

       - หากไม่ประสงค์ระบุชื่อบิดาในสูติบัตร บุตรจะต้องใช้ชื่อไทยและนามสกุลของมารดา

  1. ใบคำร้องขอจดทะเบียนเกิด (สูติบัตร) รับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  2. กรณีไม่ระบุชื่อบิดาในสูติบัตรหรือบิดามารดาประสงค์ให้บุตรนอกสมรสใช้นามสกุลตามบิดา จะต้องบันทึกสอบปากคำโดยพาพยานคนไทย 1 คน มาสอบปากคำเพิ่มเติม (พยานแนบเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1 ฉบับ

***กรณีคลอดที่บ้าน ไม่มีหลักฐานการเกิดจากโรงพยาบาล***

                ให้แนบหลักฐานการตรวจสารพันธุกรรม (DNA) ระหว่างพ่อแม่ลูก โดยผลการตรวจจะต้องขอเป็นภาษาอังกฤษ และผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีใต้มาให้เรียบร้อย พร้อมแนบหลักฐานการเข้ารักษาตัวหลังคลอดเองด้วย เช่น ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ทั้งนี้ ในวันที่เข้ามาดำเนินการแจ้งเกิดให้พาพยานคนไทยผู้รู้เห็นเหตุการณ์การคลอดเองที่บ้านมาด้วย อย่างน้อย 2 คนเพื่อมาทำการสอบปากคำเพิ่มเติม โดยพยานต้องแนบเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย และหนังสือเดินทาง คนละ 1 ฉบับ

-------------------------------------------------------------------------------------------

2. กรณี มารดาสัญชาติไทย บิดาสัญชาติเกาหลีใต้

  1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของมารดา พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเกาหลีใต้ของบิดา (จู มิน ทึง นก จึง) 1 ฉบับ **ใช้ใบขับขี่แทนไม่ได้**
  3. หนังสือเดินทางตัวจริงของมารดา พร้อมสำเนา 1 ฉบับ และสำเนาหนังสือเดินทางบิดา อย่างละ 1 ฉบับ
  4. สำเนาหนังสือเดินทางเกาหลีใต้เด็ก (หากมี) 1 ฉบับ
  5. สำเนาทะเบียนบ้านไทยของมารดา 1 ฉบับ
  6. ทะเบียนบ้านเกาหลีใต้ฉบับภาษาอังกฤษ (ยอง มุน จู มิน ทึง นก ทึง บน) ตัวจริง 1 ฉบับ
  7. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่ต้องการเพิ่มชื่อเด็ก 1 ฉบับ
  8. สำเนาทะเบียนสมรสไทย / ใบบันทึกฐานะครอบครัว (คร.22) /ทะเบียนหย่า (หากมี)
  9. ทะเบียนครอบครัวเกาหลีใต้ฉบับภาษาอังกฤษ (ยอง มุน คา จก ควัน เก จึง มยอง ซอ)
  10. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/ชื่อสกุล (หากมี)
  11. ใบเกิดภาษาอังกฤษตัวจริงจากโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ทำคลอด โดยผ่านการรับรอง (ยอง ซา ฮวัก อิน) จากกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้และลงวันที่รับรองเอกสารไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่รับรองเอกสาร 1 ฉบับ

เอกสารใบเกิดจากโรงพยาบาลฉบับภาษาอังกฤษ สามารถนำไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศได้หลังจากได้คิวแจ้งเกิดที่แน่นอนแล้ว หรือสามารถทำได้ล่วงหน้าก่อนยื่นคำร้องได้อย่างน้อย 3 เดือน (นับอายุเอกสาร 3 เดือนจากวันที่ในตราประทับของกระทรวงการต่างประเทศ) แต่ต้องรับรองหลังจากได้คิววันที่แจ้งเกิดแล้ว

ไม่แนะนำให้นำเอกสารไปรับตราประทับที่กระทรวงการต่างประเทศในวันที่มีคิวแจ้งเกิด เนื่องจากหากไม่สามารถมาติดต่อยื่นเอกสารภายในเวลาที่จองคิวไว้ สถานเอกอัครราชทูตฯขอสงวนสิทธิ์ไม่รับคำร้อง และต้องสำรองคิวในระบบใหม่เท่านั้น

      - ชื่อและนามสกุลภาษาอังกฤษบิดา-มารดาจะต้องตรงตามชื่อในหนังสือเดินทาง

      - ชื่อภาษาอังกฤษของเด็กต้องมีการสะกดที่ถูกต้องและตรงกับการออกเสียงของชื่อในภาษาไทย

      - เด็กจะใช้ชื่อไทย หรือชื่อเกาหลีก็ได้ (หากมีสัญชาติเกาหลีใต้แล้ว)

      - กรณีบุตรเกิดก่อนการจดทะเบียนสมรสและยังไม่ได้สัญชาติเกาหลีใต้ ให้ใช้ชื่อไทยและใช้นามสกุลมารดา

      - หากบุตรเป็นบุตรนอกสมรสของมารดา (มารดายังไม่ได้จดทะเบียนหย่า และไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดา) บุตรจะต้องใช้นามสกุลก่อนสมรสของมารดา

  1. ใบคำร้องขอจดทะเบียนเกิด (สูติบัตร) รับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------

3. กรณี มารดาสัญชาติไทย บิดาสัญชาติอื่นๆ (มิใช่สัญชาติเกาหลีใต้)

  1. ประจำตัวบัตรประชาชนตัวจริงของมารดา พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
  2. สำเนาประจำตัวบัตรประชาชนของประเทศบิดา 1 ฉบับ
  3. สำเนาบัตรใบกาม่า (Alien Registration Card) ของบิดา 1 ฉบับ (หากมี)
  4. หนังสือเดินทางตัวจริงของมารดา พร้อมสำเนา 1 ฉบับ และสำเนาหนังสือเดินทางของบิดา พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
  5. สำเนาหนังสือเดินทางเด็ก (หากมี) 1 ฉบับ
  6. สำเนาทะเบียนบ้านไทยของมารดา 1 ฉบับ
  7. สำเนาทะเบียนบ้านภาษาอังกฤษของบิดา (หากมิใช่ภาษาอังกฤษ จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศนั้น ๆ ในเกาหลีใต้มาด้วย) 1 ฉบับ
  8. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่ต้องการเพิ่มชื่อเด็ก 1 ฉบับ
  9. สำเนาทะเบียนสมรส/ ใบบันทึกฐานะครอบครัว (คร.22) /ทะเบียนหย่า (หากมี)
  10. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/ชื่อสกุล (หากมี)
  11. ใบเกิดภาษาอังกฤษตัวจริงจากโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ทำคลอด โดยผ่านการรับรอง (ยอง ซา ฮวัก อิน) จากกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้และลงวันที่รับรองเอกสารไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่รับรองเอกสาร 1 ฉบับ

เอกสารใบเกิดจากโรงพยาบาลฉบับภาษาอังกฤษ สามารถนำไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศได้หลังจากได้คิวแจ้งเกิดที่แน่นอนแล้ว หรือสามารถทำได้ล่วงหน้าก่อนยื่นคำร้องได้อย่างน้อย 3 เดือน (นับอายุเอกสาร 3 เดือนจากวันที่ในตราประทับของกระทรวงการต่างประเทศ) แต่ต้องรับรองหลังจากได้คิววันที่แจ้งเกิดแล้ว

ไม่แนะนำให้นำเอกสารไปรับตราประทับที่กระทรวงการต่างประเทศในวันที่มีคิวแจ้งเกิด เนื่องจากหากไม่สามารถมาติดต่อยื่นเอกสารภายในเวลาที่จองคิวไว้ สถานเอกอัครราชทูตฯขอสงวนสิทธิ์ไม่รับคำร้อง และต้องสำรองคิวในระบบใหม่เท่านั้น

      - ชื่อและนามสกุลภาษาอังกฤษบิดา-มารดาจะต้องตรงตามชื่อในหนังสือเดินทาง

      - ชื่อภาษาอังกฤษของเด็ก สะกดมาให้ถูกต้องตรงกับการออกเสียงของชื่อในภาษาไทย

      - เด็กจะใช้ชื่อไทย หรือชื่อตามสัญชาติของบิดาก็ได้ (หากมีสัญชาติอื่นแล้ว) กรณีบุตรเกิดก่อนการจดทะเบียนสมรสและยังไม่ได้สัญชาติตามบิดา ให้ใช้ชื่อไทย และใช้นามสกุลมารดา

  1. ใบคำร้องขอจดทะเบียนเกิด (สูติบัตร) รับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------

4. กรณี มารดาสัญชาติเกาหลีใต้ หรือสัญชาติอื่นๆที่มิใช่สัญชาติไทย บิดาชาวไทย

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของประเทศมารดา 1 ฉบับ
  2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของบิดา พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
  3. สำเนาบัตรใบกาม่า (Alien Registration Card) ของมารดา 1 ฉบับ (หากมี)
  4. หนังสือเดินทางของบิดาตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ และสำเนาหนังสือเดินทางของมารดา อย่างละ 1 ฉบับ
  5. สำเนาหนังสือเดินทางเด็ก (หากมี) 1 ฉบับ
  6. สำเนาทะเบียนบ้านไทยของบิดา 1 ฉบับ
  7. สำเนาทะเบียนบ้านภาษาอังกฤษของมารดา (หากมิใช่ภาษาอังกฤษ จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศนั้น ๆ ในเกาหลีมาด้วย) 1 ฉบับ
  8. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่ต้องการเพิ่มชื่อเด็ก 1 ฉบับ
  9. สำเนาทะเบียนสมรส/ ใบบันทึกฐานะครอบครัว (คร.22) /ทะเบียนหย่า ***ต้องมี***

หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส เด็กจะไม่ได้สัญชาติไทย

  1. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/ชื่อสกุล (หากมี)
  2. ใบเกิดภาษาอังกฤษตัวจริงจากโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ทำคลอด โดยผ่านการรับรอง (ยอง ซา ฮวัก อิน) จากกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ และลงวันที่รับรองเอกสารไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่รับรองเอกสาร 1 ฉบับ

เอกสารใบเกิดจากโรงพยาบาลฉบับภาษาอังกฤษ สามารถนำไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศได้หลังจากได้คิวแจ้งเกิดที่แน่นอนแล้ว หรือสามารถทำได้ล่วงหน้าก่อนยื่นคำร้องได้อย่างน้อย 3 เดือน (นับอายุเอกสาร 3 เดือนจากวันที่ในตราประทับของกระทรวงการต่างประเทศ) แต่ต้องรับรองหลังจากได้คิววันที่แจ้งเกิดแล้ว

ไม่แนะนำให้นำเอกสารไปรับตราประทับที่กระทรวงการต่างประเทศในวันที่มีคิวแจ้งเกิด เนื่องจากหากไม่สามารถมาติดต่อยื่นเอกสารภายในเวลาที่จองคิวไว้ สถานเอกอัครราชทูตฯขอสงวนสิทธิ์ไม่รับคำร้อง และต้องสำรองคิวในระบบใหม่เท่านั้น

      - ชื่อและนามสกุลภาษาอังกฤษบิดา-มารดาจะต้องตรงตามชื่อในหนังสือเดินทาง

      - ชื่อภาษาอังกฤษของเด็กต้องมีการสะกดที่ถูกต้องและตรงกับการออกเสียงของชื่อในภาษาไทย

      - เด็กจะใช้ชื่อไทย หรือชื่อตามสัญชาติของมารดาก็ได้

  1. ใบคำร้องขอจดทะเบียนเกิด (สูติบัตร) รับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ

หมายเหตุ

- หากมารดาชาวต่างชาติ ยังจดทะเบียนสมรสอยู่กับบุคคลอื่น โดยยังมิได้จดทะเบียนหย่า/ระหว่างการตั้งครรภ์ได้คลอดบุตรในขณะที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า หรือยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายไทย เด็กจะไม่ได้สัญชาติไทย

- สถานเอกอัครราชทูตฯ อาจขอให้ผู้ร้องยื่นผลการตรวจสอบสารทางพันธุกรรม (DNA) ในกรณีบุตรเกิดก่อน หรือเกิดในขณะที่บิดาและมารดายังมิได้จดทะเบียนสมรส โดยผลการตรวจจะต้องขอเป็นภาษาอังกฤษ และผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีใต้

-------------------------------------------------------------------------------------------

비고

한국어 안내문은 첨부파일 또는 한국어 페이지를 확인하시기 바랍니다.

คำแนะนำฉบับภาษาเกาหลี ตรวจสอบได้ที่หน้าเว็บไซต์ภาษาเกาหลี หรือดาวน์โหลดเอกสารแนบด้านล่าง

 

เอกสารประกอบ

การแจ้งเกิดบุตร_출생신고_JAN_2024