(3) คาเฟ่ อเมซอน แบรนด์ไทยรุกตลาดโลก

(3) คาเฟ่ อเมซอน แบรนด์ไทยรุกตลาดโลก

วันที่นำเข้าข้อมูล 24 พ.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 4,344 view

ในประเทศไทยคงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก“ร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน” ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศด้วยการพัฒนาจากร้านกาแฟในสถานีบริการน้ำมันสู่แบรนด์ร้านกาแฟสดของคนไทยที่สามารถยืนหยัดสู้กับแบรนด์จากต่างประเทศที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศจนได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วประเทศจากความสำเร็จของคาเฟ่ อเมซอนในประเทศไทย

เมื่อกลุ่มปตท.เริ่มขยายธุรกิจ สถานีบริการน้ำมันไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านแบรนด์ย่อยของปตท. แบรนด์นี้ก็มีโอกาสขยับตัวตามไปด้วยจนปัจจุบันคาเฟ่อเมซอนได้กลายเป็นธุรกิจร้านกาแฟสดที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยมีสาขาในต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 185 สาขาส่วนมากแล้วอยู่ในประเทศกัมพูชาและสปป.ลาว นอกจากนี้ยังมีสาขาในฟิลิปปินส์ เมียนมา ญี่ปุ่น และโอมาน

ceo_amazon_cafe  

คุณสุชาติ ระมาศ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดขายปลีก บริษัทปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด

ในฐานะผู้ดูแลธุรกิจคาเฟ่อเมซอนเล่าว่าการไปลงทุนในต่างประเทศเป็นเรื่องที่ท้าทายเพราะการออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศของคาเฟ่อเมซอน คือการออกไปแสวงหาโอกาสใหม่ๆในขณะเดียวกันก็เป็นตัวแทนของประเทศไทยที่ออกไปแข่งขันทางด้านธุรกิจและทำให้เห็นว่าแบรนด์ไทยสามารถขยายตัวและแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้

คุณสุชาติบอกเล่าอย่างภาคภูมิใจที่ในวันนี้คาเฟ่อเมซอนยังเป็นอันดับหนึ่งในประเทศกัมพูชาและที่สปป.ลาวว่า “วันนี้ผมกล้าพูดเลยว่าในกัมพูชาเราเป็นอันดับหนึ่ง มีสาขาอยู่ประมาณ110สาขาที่ลาวเรายังคงเป็นอันดับหนึ่งเช่นกันโดยมี54สาขาเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจว่าวันนี้เราออกไปแล้วในฐานะแบรนด์คนไทยเป็นแบรนด์ไทยที่ไปสร้างชื่อเขาไม่ได้มองว่านี่เป็นของปตท.เขามองว่าอเมซอนเป็นกาแฟแบรนด์ไทยที่กัมพูชาเรียกว่า กาแฟนกแก้วไทยแลนด์

cafe_amazon  

วันนี้เราตอบโจทย์ผู้บริโภคนำปัจจัยความสำเร็จในประเทศไทยออกไปใช้ในการดำเนินการเราไม่ได้เริ่มนับหนึ่งใหม่แต่ใช้ความสำเร็จในเมืองไทยที่หล่อหลอมมา16 ปีเป็นฐานในการขับเคลื่อนออกไปข้างนอกทุกประเทศมีความเป็นเอกลักษณ์มีความเป็นเฉพาะทางของแต่ละประเทศจึงต้องปรับตัวบางอย่างให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศดังนั้นวันนี้เราคิดว่าเราเป็นแบรนด์ที่พยายามจะออกไปเพื่อสร้างโอกาสในฐานะแบรนด์ของคนไทย”

รูปแบบการขยายสาขาในต่างประเทศของคาเฟ่อเมซอนมีอยู่ 2 รูปแบบคือดำเนินการโดยบริษัทเองและอีกทางหนึ่งคือมีผู้ลงทุนจากต่างประเทศที่สนใจในการทำธุรกิจเข้ามาติดต่อเพื่อนำร้านคาเฟ่อเมซอนไปทำในประเทศของตนซึ่งวิธีการคัดเลือกผู้ลงทุนต่างประเทศจะเข้มข้นกว่าในประเทศไทยเพราะถือว่าเป็นกระบวนการสร้างตัวแทนในต่างประเทศที่จะช่วยเสริมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในประเทศนั้นๆ คุณสุชาติอธิบายถึงปัจจัยที่เลือกใช้ในประเทศต่างๆว่าจะดูจากลักษณะการเติบโตทางเศรษฐกิจสภาพการแข่งขันในแต่ละพื้นที่ปัจจัยทางการเมืองปัจจัยทางสังคมรูปแบบการบริโภคกาแฟของประชาชนในประเทศนั้นๆรวมถึงไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคว่ามีความเหมาะกับการทำธุรกิจกาแฟหรือไม่

cafe_amazon_4  

วิเคราะห์ข้อมูลเปิดทางลงทุนในต่างประเทศ

คุณสุชาติย้ำเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลอยู่บ่อยครั้งในการเลือกไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะการเปิดธุรกิจในแต่ละประเทศมีปัจจัยแวดล้อมที่ต้องนำมาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์แตกต่างกันไป โดยก่อนที่จะเข้าไปลงทุนจะมีนักวิเคราะห์เข้าไปศึกษาข้อมูลในมิติต่างๆของแต่ละประเทศอีกแหล่งข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์การลงทุนในต่างประเทศคือหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยอาทิผู้ช่วยทูตด้านการพาณิชย์ดังนั้นเมื่อไปดื่มกาแฟที่ร้านคาเฟ่อเมซอนในบางประเทศเราอาจจะได้เห็นเมนูที่แตกต่างจากเมนูในประเทศไทยเป็นการปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่

แนะแบรนด์ไทยไปนอก

คุณสุชาติทิ้งท้ายด้วยการให้คำแนะนำผู้ประกอบการไทยที่อยากจะไปลงทุนนำแบรนด์ของตนไปขยายตลาดในต่างประเทศว่าในต่างประเทศมีโอกาสค่อนข้างดีแต่โอกาสนั้นมาพร้อมกับความท้าทายการที่จะไปแสวงหาโอกาสใหม่ๆผู้ประกอบการต้องมีข้อมูลความพร้อมของตัวเอง ความคล่องตัวของธุรกิจ คือหัวใจสำคัญที่แบรนด์ไทยต้องมีเพื่อไปต่อสู้

#ThailandEconomy #CafeAmazon #Thailandcoffee #BOI #ThailandBoardofInvestment #Thailandbrand #ThaiBizDiary #RTESeoul #BUFS

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ