วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.พ. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
อยู่ในระหว่างการปรับปรุง
คำถามสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนในระบบใหม่ (Thailand Pass)
1. ลงทะเบียนกลับไทยที่ไหน ยังลงทะเบียนที่ระบบ COE Online เหมือนเดิมได้หรือไม่
- ระบบ COE Online ได้ปิดบริการตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564
- ท่านจะต้องลงทะเบียนในระบบ Thailand Pass ที่ https://tp.consular.go.th/
2. การอนุมัติผ่านระบบ Thailand Pass ต้องเผื่อเวลานานแค่ไหน
- สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอแนะนำให้ผู้ที่ประสงค์เดินทางกลับไทยเผื่อเวลาการลงทะเบียนในระบบ Thailand Pass อย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันที่ประสงค์เดินทาง
3. หนังสือเดินทางหมดอายุ อัปโหลดเข้าระบบไปก่อนได้มั้ย
- ทางการเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้ผู้ที่มีหนังสือเดินทางหมดอายุเดินทางออกจากเกาหลีใต้ ดังนั้น หากหนังสือเดินทางหมดอายุในวันที่เดินทาง ควรทำหนังสือเดินทางใหม่ หรือเอกสารสำคัญประจำตัว (“พาสขาว” (C.I. / E.T.D.)) ก่อนอัปโหลดเข้าระบบ เพื่อให้ข้อมูลเอกสารดังกล่าวในระบบลงทะเบียนถูกต้อง
- สถานเอกอัครราชทูตฯ เปิดให้สำรองคิวทำหนังสือเดินทางในระบบลงทะเบียนออนไลน์เป็นรายเดือน ที่ shorturl.at/coyGM อย่างไรก็ดี การทำหนังสือเดินทางฯ อาจใช้เวลา ซึ่งท่านอาจต้องขอทำเอกสารสำคัญประจำตัว (C.I. / E.T.D.) แทน (ศึกษาข้อมูลการยื่นขอพาสขาวกลับประเทศไทย ที่ https://seoul.thaiembassy.org/th/publicservice/c-i)
คำถามเกี่ยวกับตั๋วเครื่องบิน และหลักฐานการชำระค่าโรงแรมที่กักตัว
4. ตั๋วเครื่องบินคืออะไร หน้าตาเป็นอย่างไร
คือ เอกสารยืนยันการซื้อตั๋วเครื่องบินที่สายการบินหรือบริษัทรับจองตั๋วเครื่องบินออกให้
เอกสารต่อไปนี้ไม่ใช่ตั๋วเครื่องบิน อาทิ สลิปใบเสร็จการโอนเงินที่ธนาคารออกให้
5. หมายเลขเที่ยวบิน หรือ Flight Number คืออะไร
- หมายเลขเที่ยวบินหรือในภาษาอังกฤษ คือ flight number ประกอบด้วยรหัสของสายการบินและเลขเที่ยวบิน ซึ่งปรากฏอยู่ในตั๋วเครื่องบิน
ตัวอย่าง
- การบินไทย เที่ยวบินที่ 657 ในตั๋วเครื่องบินจะระบุว่า TG657
- โคเรียนแอร์ เที่ยวบินที่ 653 ในตั๋วเครื่องบินจะระบุว่า KE653
หมายเหตุ: เฉพาะผู้ที่เดินทางโดยสายการบินโคเรียนแอร์ ขอให้กรอกข้อมูลในระบบเฉพาะ KE653 [ไม่ใส่ 0 หรือเว้นวรรค] |
เอเชียน่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 741 ในตั๋วเครื่องบินจะระบุว่า OZ741
หมายเหตุ: เฉพาะผู้ที่เดินทาง โดยสายการบินเอเชียน่าแอร์ไลน์ ขอให้กรอกข้อมูลในระบบ เป็น OZ741 ไม่เว้นวรรค และใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ O (โอ) ไม่ใช่เลข 0 (ศูนย์) |
6. โรงแรม AQ และ SHA+ คืออะไร
- โรงแรม AQ คือ โรงแรมที่ใช้เป็นพื้นที่กักกันสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทยในรูปแบบ AQ และเป็นสถานที่ที่รัฐกำหนดเพื่อใช้รอผล RT-PCR ของผู้เดินทางเข้าประเทศไทยในรูปแบบยกเว้นจากการกักกัน
- โรงแรม/ที่พัก SHA+ คือ โรงแรมที่ได้มาตรฐาน “Amazing Thailand Safety and Health Administration” และใช้เป็นโรงแรมที่พักสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทยในรูปแบบ Sandbox และเป็นสถานที่ที่รัฐกำหนดเพื่อใช้รอผล RT-PCR ของผู้เดินทางเข้าประเทศไทยในรูปแบบยกเว้นจากการกักกัน
- ทั้งนี้ ท่านสามารถค้นหารายชื่อโรงแรม AQ / SHA+ ได้จาก https://bit.ly/3556nel
7. ถ้ากลับแบบ Test and Go ต้องจองโรงแรมที่กักตัวที่วัน และต้องจองโรงแรมที่กักตัวเดียวกันหรือไม่
- จองโรงแรม SHA Extra+ หรือ AQ จำนวน 2 คืน ในวันที่ 1 และ วันที่ 5 (ประกอบด้วยเอกสารยืนยันการจองโรงแรมวันที่ 1 + ค่าตรวจ RT-PCR ครั้งที่ 1 + ค่ายานพาหนะรับส่งจากสนามบิน + เอกสารยืนยันการจองโรงแรมวันที่ 5 + ค่าตรวจ RT-PCR ครั้งที่ 2) ในช่วงระหว่างวันที่ 1 และวันที่ 5 ผู้เดินทางสามารถเดินทางในไทยได้อิสระ แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมโรคของสาธารณสุขอย่างเครงครัด อาทิ สวมหน้ากากอนามัย
- โรงแรมที่กักตัวสำหรับวันที่ 5 ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงแรมที่กักตัวเดียวกับโรงแรมที่ 1 และ/หรืออยู่ในจังหวัดเดียวกัน
8.ถ้าลงทะเบียนในระบบ Thailand Pass ก่อนวันที่ 1 มี.ค. 2565 และมีกำหนดเข้าประเทศไทยตั้งแต่ 1 มี.ค. 2565 จะได้รับสิทธิตามรูปแบบใหม่หรือไม่ (กักตัว 1 วัน) และต้องลงทะเบียนใหม่หรือไม่
- ผู้ที่ได้รับอนุมัติ Thailand Pass ก่อนวันที่ 1 มี.ค. 2565 และมีกำหนดเข้าประเทศไทยตั้งแต่ 1 มี.ค. 2565 เป็นต้นไป จะได้รับสิทธิตามรูปแบบใหม่ และไม่ต้องลงทะเบียนในระบบ Thailand Pass ใหม่ โดยขอแนะนำติดต่อโรงแรมของท่าน เพื่อขอยกเลิกการกักตัวในคืนวันที่ 5 ต่อไป
9. จองโรงแรมที่ไหน
- หารายชื่อโรงแรมที่กักตัวได้ที่ http://www.hsscovid.com/
- นอกจากนี้ สามารถจองโรงแรมที่กักตัว (Alternative Quarentine- AQ) ผ่านเว็บไซต์ ดังนี้
https://www.agoda.com/quarantineth
10. หลักฐานการชำระค่าโรงแรมที่กักตัว ควรมีหน้าตาอย่างไร
- ขอแนะนำว่า หลักฐานการชำระค่าโรงแรมที่กักตัวควรมีตราประทับ หรือข้อความระบุว่าจ่ายเงินครบถ้วนแล้ว (Paid หรือ Fully Paid)
- ในกรณีเดินทางกลับไทยแบบ Test and Go หลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมSHA Extra+ หรือ AQ จำนวน 2 คืน ในวันที่ 1 และ วันที่ 5 (ประกอบด้วยเอกสารยืนยันการจองโรงแรมวันที่ 1 + ค่าตรวจ RT-PCR ครั้งที่ 1 + ค่ายานพาหนะรับส่งจากสนามบิน + เอกสารยืนยันการจองโรงแรมวันที่ 5 + ค่าตรวจ RT-PCR ครั้งที่ 2)
ตัวอย่าง
การยกเลิกการเดินทางกลับไทย
11.กรณีที่เปลี่ยนใจไม่กลับแล้ว ต้องทำอย่างไรบ้าง / ต้องแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือไม่
ไม่จำเป็นต้องแจ้งสถานเอกอัครราชทูต ฯ หากประสงค์เปลี่ยนเที่ยวบิน สามารถลงทะเบียนใหม่ได้ทันทีในระบบ Thailand Pass แต่ขอแนะนำให้เผื่อเวลาการลงทะเบียนอย่างน้อย 7 วันก่อนวันเดินทาง
คำถามเรื่องระยะเวลาการกักตัวเมื่อเดินทางถึงไทยและเอกสารรับรองการฉีดวีคซีนป้องกันไวรัส COVID-19
12. คำถามเรื่องระยะเวลาการกักตัวเมื่อเดินทางถึงประเทศไทย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล ขอแจ้งข้อกำหนดระยะเวลาการกักตัวสำหรับทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางจากสาธารณรัฐเกาหลีเข้าประเทศไทยตามที่รัฐบาลไทยกำหนดสำหรับ Test and Go (กักตัว 1 วัน + ชุดตรวจ ATK self-test 1 ชุด) Alternative Quarantine (กักตัว 7 หรือ 10 วัน) และ Sandbox (กักตัว 7 วัน) ดังนี้
1) Test and Go / Alternative Quarantine (กักตัว 7 วัน) และ Sandbox สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด – 19 ครบตามข้อกำหนดของไทย : ครบโดส โดยโดสสุดท้ายก่อนวันเดินทาง 14 วัน
2) Alternative Quarantine (กักตัว 10 วัน) สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด – 19 หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามข้อกำหนดของไทย อาทิ ได้รับวัคซีนไม่ครบโดส / ได้รับวัคซีนก่อนเดินทางน้อยกว่า 14 วัน
วัคซีนที่ได้รับการยอมรับในประเทศไทยประกอบด้วย
- CoronaVac (Sinovac)
- AstraZeneca (Vaxzevria, Covishield)
- Pfizer-BioNTech (Comirnaty)
- Moderna
- COVILO (Sinopharm)
- Janssen (Johnson & Johnson)
- Sputnik V
- Covaxin
- Medigen (สำหรับมาตรการ Sandbox เท่านั้น)
- Sputnik Light (สำหรับมาตรการ Sandbox เท่านั้น)
ประเทศไทยยอมรับการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ทั้งนี้ ระยะเวลาที่ได้รับวัคซีนเข็มสองจะต้องเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดของวัคซีนเข็มแรก ดังนี้
- เข็มแรก (Sinovac) = เว้นระยะ 2 สัปดาห์ ก่อนเข็มที่สอง
- เข็มแรก (AstraZeneca) = เว้นระยะ 4 สัปดาห์ ก่อนเข็มที่สอง
- เข็มแรก (Pfizer-BioNTech) = เว้นระยะ 3 สัปดาห์ ก่อนเข็มที่สอง
- เข็มแรก (Moderna) = เว้นระยะ 4 สัปดาห์ ก่อนเข็มที่สอง
- เข็มแรก (Sinopharm) = เว้นระยะ 3 สัปดาห์ ก่อนเข็มที่สอง
- เข็มแรก (Sputnik V) = เว้นระยะ 3 สัปดาห์ ก่อนเข็มที่สอง
- เข็มแรก (Covaxin) = เว้นระยะ 4 สัปดาห์ ก่อนเข็มที่สอง
- เข็มแรก (Medigen) = เว้นระยะ 4 สัปดาห์ ก่อนเข็มที่สอง
* ผู้ได้รับวัคซีนครบถ้วนคือผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่สอง 14 วันก่อนเดินทาง
* ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน Janssen (Johnson&Johnson) จะถือว่าเป็นผู้ได้รับวัคซีนครบถ้วน หลังได้รับวัคซีนเข็มแรก 14 วัน
* ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน Sputnik Light จะถือว่าเป็นผู้ได้รับวัคซีนครบถ้วน หลังได้รับวัคซีนเข็มแรก 14 วัน
* เอกสารรับรองการได้รับวัคซีน Medigen และ Sputnik Light จะสามารถใช้เป็นหลักฐานประกอบสำหรับการลงทะเบียนเข้าตามมาตรการ Sandbox เท่านั้น
ที่มาของข้อมูล: https://consular.mfa.go.th/th/content/thailand-pass-faqs-2
13. ประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 ที่เกาหลีใต้ ต้องทำอย่างไร
ขอแนะนำศึกษาข้อมูล ดังนี้
- ประกาศแผนการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันไวรัส COVID-19 สำหรับชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยอยู่ในเกาหลีใต้ ที่ https://bit.ly/39SMetA
- ขั้นตอนการลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันไวรัส COVID-19 ในเกาหลีใต้สำหรับชาวต่างชาติ ที่ https://bit.ly/3CY6Qgf
14. ถ้าได้ฉีดวัคซีนที่เกาหลีใต้แล้ว จะหาเอกสารรับรองการฉีดวีคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 ภาษาอังกฤษ (Vaccine Certificate - VC) จากที่ไหน
สามารถขอใบรับรองการฉีดวัคซีนเป็นภาษาอังกฤษ ที่
1. ศูนย์สาธารณสุข (Public Health Center / 보건소)
2. คลีนิก หรือโรงพยาบาลที่ได้รับการฉีดวัคซีน
3. เว็บไซต์ของ KDCA : https://nip.kdca.go.kr/irgd/index.html
* หากเป็นผู้ที่พำนักในเกาหลีใต้โดยวีซ่ายังไม่หมดอายุ สามารถขอเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนที่เว็บไซต์ของ KDCA
* คลีนิก หรือโรงพยาบาลที่ได้รับการฉีดวัคซีนสามารถออกใบรับรองการฉีดวัคซีนได้ แต่บางแห่งอาจไม่ออกเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ ในการนี้ ขอแนะนำให้ท่านติดต่อตรวจสอบกับคลีนิก หรือโรงพยาบาล ล่วงหน้า
* หากเป็นผู้ที่พำนักในเกาหลีใต้โดยวีซ่าหมดอายุแล้ว สามารถขอใบรับรองที่ศูนย์สาธารณสุข (Public Health Center / 보건소) เท่านั้น
ตัวอย่างใบรับรองการฉีดวัคซีน
หมายเหตุ: รูปแบบเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนอาจไม่เหมือนกับตัวอย่างดังกล่าว ในการนี้ เอกสารรับรองการฉีดวัคซีนที่ถูกต้องควรมีข้อมูลสำคัญภาษาอังกฤษ ดังนี้
(1) ข้อมูลส่วนตัวของท่าน อาทิ ชื่อ / วันเดือนปีเกิด
(2) ชื่อวัคซีนที่ท่านได้รับ
(3) จำนวนครั้งที่ฉีดวัคซีนที่ท่านได้รับ
(4) วันที่ท่านฉีดวัคซีน
(5) สถานที่ที่ท่านได้รับฉีดวัคซีน
15. ถ้าเดินทางพร้อมบุตรอายุน้อยกว่า 18 ปี จะต้องกักตัวที่สถานที่กักตัว (AQ) กี่วัน
รายละเอียดสำหรับผู้เดินทางที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ที่ https://consular.mfa.go.th/th/content/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-test-a?cate=5ddbe42115e39c4768007e1d
- ท่านสามารถตรวจหาเชื้อ COVID- 19 ด้วยวิธี RT - PCR Test และรับใบรับรองการตรวจหาเชื้อ COVID- 19 เป็นภาษาอังกฤษได้ที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในเกาหลีใต้ ในการนี้ ขอแนะนำให้ท่านติดต่อกับโรงพยาบาลก่อนว่า โรงพยาบาลออกใบรับรองการตรวจหาเชื้อ COVID- 19 เป็นภาษาอังกฤษหรือไม่
- สถานเอกอัครราชทูตฯ ตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว พบว่า การตรวจหาเชื้อโควิคด้วยวิธี RT - PCR และออกใบรับรองการตรวจหาเชื้อเป็นภาษาอังกฤษมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 140,000 - 180,000 วอน
- ขอแนะนำให้เตรียมหนังสือเดินทาง และบัตร Alien card (หากมี) เพื่อตรวจหาเชื้อ COVID- 19 ที่โรงพยาบาล
หมายเหตุ: ท่านจะไม่ได้รับใบรับรองการตรวจหาเชื้อเป็นภาษาอังกฤษ หากไปตรวจหาเชื้อ COVID - 19 ที่ public health center เนื่องจากทาง public health center สามารถออกผลการตรวจหาเชื้อในรูปแบบข้อความทางโทรศัพท์มือถือ (SMS) เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ใช่เอกสารทางการ และรัฐบาลไทยไม่รับรอง
ตัวอย่างใบรับรองการตรวจหาเชื้อเป็นภาษาอังกฤษ
- หมายเหตุ: ผู้ที่ประสงค์เดินทางกลับไทยรูปแบบ Alternative Quarantine (AQ) ไม่ต้องตรวจหาเชื้อ COVID-19 ก่อนเดินทางกลับไทย
17. สามารถใช้ผลตรวจหาไวรัส COVID-19 รูปแบบอื่นนอกจาก RT-PCR เพื่อเดินทางเข้าประเทศไทยได้หรือไม่
- ไม่ได้ ผลตรวจหาไวรัส COVID-19 จะต้องเป็นรูปแบบ RT-PCR เท่านั้น (ไม่ใช่ผลตรวจแบบ ATK) และผลตรวจดังกล่าวจะต้องออกภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
- หมายเหตุ: ผู้ที่ประสงค์เดินทางกลับไทยรูปแบบ Alternative Quarantine (AQ) ไม่ต้องตรวจหาเชื้อ COVID-19 ก่อนเดินทางกลับไทย
คำถามด้านกงสุลและเอกสารสำคัญสำหรับการเดินทางกลับไทย
19. บริการด้านกงสุลคืออะไร
- สถานเอกอัครราชทูตฯ อำนวยความสะดวกด้านกงสุล เช่น การทำหนังสือเดินทาง บัตรประชาชน ตรวจลงตรา (วีซ่า) นิติกรณ์ (แจ้งเกิด จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหย่า และมรณบัตร)
20. กรณีวีซ่าหมดอายุ ต้องรายงานตัวต่อ ตม. เกาหลีใต้ อย่างไรบ้าง
- กรณีผู้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศอย่างผิดกฎหมาย เมื่อถึงคิวเดินทางแล้ว กรุณารีบซื้อตั๋วเครื่องบินและนำตั๋วเครื่องบินไปรายงานตัวกลับประเทศโดยสมัครใจที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเขตที่ท่านพักอาศัยอยู่ อย่างน้อย 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง มิฉะนั้นท่านจะไม่สามารถเดินทางได้ และต้องไม่ลืมไปรายงานตัวกับ ตม. เกาหลีใต้ ที่ สนามบินอีกครั้ง ในวันเดินทาง
21. หนังสือเดินทางหมดอายุ ทำอย่างไรดี
- ผู้ที่ประสงค์จะทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (passport) สามารถจองคิวได้ที่ shorturl.at/coyGM
22. ถึงลำดับคิวแล้ว แต่หนังสือเดินทางหมดอายุ และทำหนังสือเดินทางใหม่ไม่ทันแน่ ทำอย่างไรดี
- สามารถมาทำพาสขาวกลับประเทศไทย ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า เอกสารสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity - C.I. / E.T.D.) ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อใช้แทนหนังสือเดินทางที่หมดอายุแล้ว ข้อมูลที่ https://seoul.thaiembassy.org/th/publicservice/c-i
คำถามรายงานตัว ตม. เกาหลีใต้ สำหรับผู้ที่วีซ่าหมดอายุแล้ว หรือการขออนุญาตเดินทางกลับเข้าประเทศเกาหลีใต้ (Re-entry Permit) ก่อนเดินทางกลับเข้าเกาหลีใต้
23. ตม. เกาหลีใต้มีระบบการลงทะเบียนออนไลน์ สำหรับผู้ที่วีซ่าหมดอายุแล้ว หรือต้องการขออนุญาตเดินทางกลับเข้าประเทศเกาหลีใต้ (Re-entry Permit) และประสงค์จะเดินทางออกจากประเทศเกาหลีใต้ ที่ https://www.hikorea.go.kr/ หรือยื่นคำร้องที่สำนักงาน ตม. เกาหลีใต้ในเขตที่พักอาศัย
24. ท่านสามารถลงทะเบียนออนไลน์ของ ตม. เกาหลีใต้ ในกรณีที่มีตั๋วเครื่องบินและวันเดินทางกลับไทยแล้ว และต้องรายงานตัวล่วงหน้า 4 วัน (ไม่รวมวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ) ระหว่างเวลา 07.00 - 22.00 น. ก่อนการเดินทางกลับภูมิลำเนา หากท่านไม่เคยรายงานตัว หรือรายงานตัวไม่ครบ 4 วัน ก่อนเดินทาง ท่านจะไม่ได้รับอนุญาตจากทางการเกาหลีใต้ให้เดินทางออกจากเกาหลีใต้ ขอแนะนำให้รายงานตัวหลังจากที่ได้ตั๋วเครื่องบินกลับประเทศไทยแล้ว
- เมื่อรายงานตัวแบบออนไลน์เสร็จแล้ว ในวันเดินทางกลับไทย ต้องไปรายงานตัวที่ ตม. เกาหลีใต้ ที่ท่าอากาศยานอินชอนอีกครั้งก่อนเช็กอิน (check in) ด้วย
หมายเหตุ: ชนิดวีซ่าเกาหลีใต้ที่ไม่ต้องขอ Re-entry Permit คือ A-1 (นักการทูต) / A-2 (ข้าราชการ) / A-3 (ความตกลงระหว่างประเทศ) และ F-4 (ชาวเกาหลีใต้ที่อาศัยอยู่ต่างแดน)
คำถามสำหรับการคุ้มครอง (ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางกลับไทย)
25. กรณีป่วยอาการหนัก (ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือไม่สามารถกักตัวในโรงแรม 14 วัน) และมีความจำเป็นต้องกลับไทยควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง
1) แจ้งทางโทรศัพท์ตามเบอร์โทรศัพท์ต่อไปนี้ +82-2-790-2955 / +82-2-795-0095 / +82-2-795-3098 หรือ
+82-2-795-3253 ต่อ 106, 112, 117 หรือติดต่อเบอร์โทรศัพท์ตรงที่ +82 10 6747 0095 หรือสามารถติดต่อทาง Line (Line ID: rteconsularseoul)
2) แจ้งชื่อ – นามสกุล / หมายเลขบัตรประชาชน / หมายเลขหนังสือเดินทาง (ของผู้แจ้งและผู้ป่วย)
3) แจ้งสถานะของผู้ป่วยอาการหนักข้างต้น เช่น รู้สึกตัวไหม สื่อสารรู้เรื่องไหม อยู่ที่ไหนในเกาหลีใต้ และสามารถเดินทางได้หรือไม่
4) เพื่อติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูตฯ หากเป็นไปได้ขอให้เตรียมเอกสารสำคัญคือ (1) เอกสารใบรับรองแพทย์ระบุการเจ็บป่วย (2) สำเนาหนังสือเดินทาง และ (3) ใบรายงานตัวกับ ตม. เกาหลีใต้ (ในกรณีที่วีซ่าหมดอายุ) และส่งมาที่ Line (Line ID: rteconsularseoul) เพื่อประกอบการพิจารณาเป็นรายกรณีต่อไป
5) ขอให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ดูแลผู้ป่วยลงทะเบียนในระบบ Thailand Pass โดยเลือก ด้วย
6) การดำเนินการในการเตรียมการประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมจัดหาเตียงใช้เวลาประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ก่อนการเดินทาง
7) กรณีผู้ป่วยอาการหนักช่วยตัวเองไม่ได้ และเป็นแรงงาน E-9 ขอให้ประสานงานกับสำนักงานแรงงานประจำกรุงโซล เพื่อให้ความช่วยเหลือในการประสานงานกระทรวงแรงงาน และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดหาเตียง ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ล่วงหน้าก่อนเดินทาง
26. กรณีตกเครื่องบินระหว่างการเปลี่ยนเครื่องบินที่เกาหลีใต้ (transit) หรือต้องการเปลี่ยนเที่ยวบินกลับไทย ขอให้ปฏิบัติ ดังนี้
(1) ในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน ผู้เดินทางสามารถเปลี่ยนเที่ยวบินได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง หลังเวลาของเที่ยวบินเดิมที่ลงทะเบียนไว้กับ Thailand Pass โดยไม่ต้องขอ Thailand Pass QR Code ใหม่ ทั้งนี้ เอกสารอื่น ๆ ยังคงต้องมีความสมบูรณ์และมีอายุการใช้งานตามที่กำหนดไว้
หากท่านต้องการจะเปลี่ยนกำหนดการเดินทางมากกว่า 72 ชั่วโมง ท่านจะต้องแก้ไขคำร้องของท่านโดยใช้ access code ของท่านเข้าระบบ โดยปุ่มการแก้ไขคำร้องปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ของ Thailand Pass ทั้งนี้ การแก้ไขคำร้องจะต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติอีกครั้ง
(2) ติดต่อโรงแรมที่กักตัวที่ไทยของท่าน เพื่อแจ้งเปลี่ยนวันเดินทางถึงไทย และส่งหลักฐานการจองโรงแรมให้ท่านในโอกาสแรกต่อไป
คำถามอื่น ๆ เกี่ยวกับระบบ Thailand Pass สามารถอ่านได้ที่ https://consular.mfa.go.th/th/content/thailand-pass-faqs-2
สถานะวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
รูปภาพประกอบ