ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดแนวคิดการบริหารจัดการเกษตรกรรมยั่งยืน

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดแนวคิดการบริหารจัดการเกษตรกรรมยั่งยืน

วันที่นำเข้าข้อมูล 2 ส.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565

| 1,129 view

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายกฤษฎา บุญราช) สั่งการให้วางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีสาเหตุจากเกษตรกรไม่มีการวางแผนการผลิตทางการเกษตรหรือทําการเกษตรโดยไม่คํานึงถึงความต้องการของตลาดหรือผู้บริโภค และเมื่อผลผลิตออกมามากล้นตลาด ทําให้ราคาตกต่ำก็มาเรียกร้องหรือกดดันให้รัฐช่วยเหลือในเรื่องการจ่ายเงินชดเชยส่วนที่ขาดทุน เช่น การรับจํานํา หรือประกันราคาผลผลิต หรือขอให้ใช้งบประมาณรัฐมาซื้อผลผลิตในราคานําตลาด ซึ่งมาตรการเหล่านี้รัฐได้ดําเนินการมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน และในปัจจุบัน ยังมีการเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากเกษตรกรกลุ่มต่าง ๆ ตามฤดูกาลผลิตตลอดมาเป็นระยะ ๆ

คณะทำงานฯ มีการระดมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันวางแผนการผลิตที่คล้องกับความต้องการของตลาด พร้อมมีมาตรการจูงใจ และมาตรการหรือเงื่อนไขบริการใด ๆ ให้เกษตรกรทำตามแผนการผลิตของประเทศ เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองผู้มีอาชีพเกษตรกรรมจํานวนประมาณ 7 ล้านครอบครัว หรือ 24 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นพลังสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มหนึ่งเช่นเดียวกับผู้มีอาชีพอื่น ๆ โดยมีแนวคิดสําคัญดังนี้

1. ถ้ากระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะกําหนดแผนการผลิตทางการเกษตรควรกําหนดชนิดหรือประเภทของพืชและหรือปศุสัตว์อะไรบ้างในแผนการผลิต และควรมอบหมายให้หน่วยงานใด หรือควรแต่งตั้งคณะกรรมการจากหน่วยใดบ้างให้เป็นผู้รับผิดชอบจัดทําหรือกําหนดแผนการผลิตทางการเกษตรของประเทศ

2. ในแผนการผลิตทางการเกษตรมีรายละเอียดหรือองค์ประกอบอย่างไรบ้าง

3. นํา พ.ร.บ. เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็น กฏหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายอยู่แล้วมาพิจารณาว่ามีสาระหรือ บทบัญญัติที่จะนํามาใช้ดําเนินการจัดทําแผนการผลิตทางการเกษตรกรรมได้หรือไม่ รวมทั้งให้ศึกษาว่ามีวิธี การอย่างไรบ้างที่จะทําให้เกษตรกรปฏิบัติตามแผนการผลิต ทั้งนี้ อาจนําจุดแข็งและจุดอ่อนของการวางแผน ข้าวครบวงจรและหรือการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาอ้อยตามกฎหมายอ้อยและน้ำตาลมาพิจารณาประกอบ ด้วยก็ได้

4. กระทรวงเกษตรฯ ควรกําหนดเงื่อนไขหรือมาตรการจูงใจ (Incentives) ให้เกษตรกรทําการเกษตรตามแผนการผลิตทางการเกษตรอย่างจริงจัง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ได้แต่งตั้งคณะทํางานฯ เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตร กรรมแบบยั่งยืน และมีกำหนดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2561

 

แหล่งที่มาของการสรุปข่าว

https://www.matichon.co.th/economy/news_990621

https://www.dailynews.co.th/politics/648217

http://www.tnamcot.com/view/5b1b6248e3f8e4f60785dde0