วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ก.ค. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
(16) บีโอไอ หนุนอุตสาหกรรมบริการทางการแพทย์
จากรายงานของ International Medical Travel Journal พบว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิง สุขภาพของโลก มีขนาดตลาดประมาณ 563.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558 และคาดว่าจะมีขนาด ตลาดเกิน 8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 โดยประมาณการของ Global Wellness Institute (GWI) ระบุว่า อัตรการเติบโตของตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลก เติบโตอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี ทั้งนี้ Lonely Planet ได้ระบุเพิ่มว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของตลาดการท่องเที่ยวของโลก โดยเฉพาะด้าน การแพทย์จะเพิ่มขึ้นสูงได้ถึง 20% ต่อปี นอกจากนี้แล้ว การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสามารถ สร้างรายได้ ได้มากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปราว 61% และถือเป็นเทรนด์สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะ เสาะแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
กิจการศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เล็งเห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนี้ จึงได้เปิดประเภทการส่งเสริมในกิจการ ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งมีข้อกำหนดว่าจะต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนี้คือการให้บริการในรูปแบบของโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพแบบต่อเนื่องในระยะเวลาพอสมควร เพราะฉะนั้นจึงต้องจัดให้มีที่พักอาศัยค้างคืน และมีรูปแบบการให้บริการที่เป็นมาตรฐานสากล สิทธิประโยชน์ที่ทางบีโอไอจัดเตรียมให้แก่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพคือการยกเว้นภาษีอากรนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบจำเป็น เป็นต้น
จากสถิติการให้การส่งเสริมการลงทุนที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีจุดเด่นสำคัญที่สามารถพัฒนา เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ คือประเทศไทยมีอุตสาหกรรมการบริการดูแลสุขภาพทั้งภายใน และภายนอกที่เข้มแข็ง ทั้งในเรื่องของสปา การจัดการโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ การให้บริการทางเลือก ทั้ง ในเรื่องการสร้างความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ
อย่างไรก็ดี การสร้างจุดแข็งในการออกแบบโปรแกรมการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสุขภาพ จำเป็นจะ ต้องมีการควบรวมศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการได้รับผลลัพธ์สูงสุด และการสร้าง ประสบการณ์ที่ดี ซึ่งหัวใจสำคัญของศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพที่ได้รับการส่งเสริมฯ จะต้องมีองค์รวมของการฟื้นฟู สุขภาพให้เกิดประสบการณ์เชิงบวก และสามารถนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดทำโปรแกรม การบำบัดรักษาด้านร่างกายและจิตใจ ที่ผนวกโปรแกรมการออกกำลังกาย การทำสมาธิ การขจัดปัญหาหรือตะกอนในจิตใจ รวมกับรับอาหารที่มีโภชนาการที่ดี เป็นต้น
กิจการบริการทางการแพทย์
นอกจากนี้ เพื่อเสริมให้การเดินทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการให้บริการทางการแพทย์กับคนไทย เป็นไปอย่างได้ผลสูงสุด บีโอไอจึงได้เปิดประเภทการบริการทางการแพทย์เพิ่มเติม คือ
× กิจการบริการสาธารณสุขด้านแพทย์แผนไทย
× กิจการศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง
× กิจการสถานพยาบาล
× กิจการขนส่งผู้ป่วย แพทย์ หรืออุปกรณ์การแพทย์ (ทางอากาศ ทางบก หรือทางเรือ)
ทั้งนี้ แม้ว่ากิจการการบริการแพทย์ส่วนใหญ่ อาจจะไม่ได้มุ่งเน้นสำหรับการดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิง สุขภาพในทางตรง แต่ก็เป็นการเพิ่มศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์ของเอกชนไทย และเสริมความ น่าเชื่อถือให้กับนักท่องเที่ยวว่าจะสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเดินทางไปใน ท้องถิ่นใดในประเทศไทย และเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในภาคเอกชนให้เกิดการให้บริการ ที่มีมาตรฐานสากลที่ดี และทำให้นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มารับบริการในศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ หรือใช้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอื่น เช่น สปา แพทย์ทางเลือก ฟิตเนส หรือแม้แต่การทำศัลยกรรม มีความมั่นใจในความลากหลายของการให้บริการทางการแพทย์ของไทย
ความสำเร็จของการลงทุนในกิจการศูนย์ฟื้นฟูและกิจการบริการทางการแพทย์ จึงไม่เพียงแต่จะ มุ่งในเรื่องการนำรายได้เข้าประเทศ แต่ยังเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทยให้เกิดการตระหนักถึง การดูแลรักษาสุขภาพ และสร้างงาน สร้างอาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นไทยที่โดดเด่นในเรื่องการให้บริการ ด้วยใจ และมีความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์
รูปภาพประกอบ