(17) เทรนด์ธุรกิจร้านอาหารหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์: ฟู้ด เดลิเวอรี่คือทางเลือกหลัก สร้างรายได้

(17) เทรนด์ธุรกิจร้านอาหารหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์: ฟู้ด เดลิเวอรี่คือทางเลือกหลัก สร้างรายได้

วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ก.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 3,234 view

ในช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา บริการส่งอาหารออนไลน์ หรือ online food delivery ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากผู้คนไม่สามารถออกมากินข้าวนอกบ้านได้ตามปกติคำถามคือหลังคลายมาตรการล็อกดาวน์แล้วคนจะยังสั่งอาหารออนไลน์อยู่ไหม แล้วร้านอาหารจะต้องทำอย่างไรนักการตลาดหลายสำนักเชื่อว่าแม้จะมีการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์แล้วแต่เทรนด์การสั่งอาหารออนไลน์จะยังคงอยู่เพราะผู้บริโภคเริ่มเคยชินกับความสะดวกสบาย

 

เดลิเวอรี่ จากทางรอดสู่ทางเลือก

ก่อนหน้านี้ธุรกิจร้านอาหารต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัวอย่างกะทันหันเพื่อหาทางรอดจากวิกฤตโควิด แต่คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้บริหารจาก Penguin Eat Shabu มองว่าเดลิเวอรี่จะกลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับธุรกิจร้านอาหารในการสร้างหรือเพิ่มช่องทางการทำรายได้ให้มากขึ้น โดยใช้ต้นทุนน้อยลง กระจายความเสี่ยงได้มากขึ้น

 

THAI_BIZ_17_(1)  

ประเภทของ Food Delivery

แบบ Ready to eat หรือการเดลิเวอรี่อาหารพร้อมทานที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ผ่านแอปพลิเคชันที่คนใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น Line Man,Grab, Food Pandaอีกรูปแบบ คือ Ready to cook ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในปัจจุบัน เพราะยังไม่ค่อยมีคนเข้ามาเล่นในตลาดนี้สักเท่าไรด้วยเหตุที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเตรียมอาหาร และเตรียมอุปกรณ์เพิ่มเติมพอสมควร

 

สัดส่วนออนไลน์และออฟไลน์ของธุรกิจร้านอาหารในอนาคต

คุณฐากูร ชาติสุทธิผล ผู้บริหารจาก FoodStory ระบุว่า ในช่วงก่อนโควิด ร้านอาหารหลายๆ แห่งอาจจะแบ่งสัดส่วนการขายออฟไลน์ต่อออนไลน์เป็น 90:10 แต่เมื่อมีสถานการณ์โควิดเข้ามาหลายๆ ร้านต้องหันไปใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้นส่งผลให้ในอนาคตสัดส่วนการขายออฟไลน์ต่อออนไลน์อาจจะเปลี่ยนเป็น 70:30หรือมากถึง 50:50

 

THAI_BIZ_17_(2)  

คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร

ผู้ประกอบการร้านอาหารในยุคนี้ควรทดลองใช้เทคโนโลยี และระบบจัดการหลังบ้านเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการร้านอาหาร เพราะอันที่จริงแล้วการลงทุนในส่วนนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณสูงขนาดที่ผู้ประกอบการหลายๆ คนเข้าใจ และยังช่วยลดปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำร้านอาหารอีกด้วย

คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้บริหารจากPenguin Eat Shabuยกตัวอย่างว่า “ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ลงทุนไปกับเทคโนโลยีอาจจะน้อยกว่าค่าตัวของพนักงานหนึ่งคนเสียอีก” และ “การมีพาร์ทเนอร์ที่ไม่ว่าจะด้านเทคโนโลยีหรือลอจิสติกส์จะทำให้ธุรกิจร้านอาหารของเราเติบโตได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น” เพราะสามารถนำเวลาที่เหลือไปโฟกัสกับธุรกิจหลักของตนเองได้

อ่านต่อที่

1. บทความที่แปลเป็นภาษาเกาหลี

https://blog.naver.com/thaibiz_diary/222432500249

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

ข่าวใกล้เคียง

ข่าวใกล้เคียง