(21) คุยกับผู้บริหาร Autobot แบรนด์หุ่นยนต์ดูดฝุ่นสัญชาติไทย ที่ตั้งเป้าหมายเป็นเทคคอมพานี

(21) คุยกับผู้บริหาร Autobot แบรนด์หุ่นยนต์ดูดฝุ่นสัญชาติไทย ที่ตั้งเป้าหมายเป็นเทคคอมพานี

วันที่นำเข้าข้อมูล 3 ส.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 3,213 view

(21)_คุยกับผู้บริหาร_Autobot_แบรนด์หุ่นยนต์ดูดฝุ่นสัญชาติไทย_ที่ตั้งเป้าหมายเป็นเทคคอมพานี_(1)

 

รู้จักกับโรบอทเมคเกอร์บริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Autobot ที่ไม่ได้ต้องการผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเพียงอย่างเดียวแต่ต้องการเป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติไทย ปัจจุบัน กระแสการตกแต่ง ดูแลบ้าน ทำให้บ้านน่าอยู่กำลังมาแรงจากความจำเป็นในการทำงานที่บ้าน (Work From Home) ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด โดยหนึ่งในสิ่งที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลานี้มีหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่ขายดี ตลาดหุ่นยนต์ดูดฝุ่นในประเทศไทยมีผู้เล่นหลัก ๆ อยู่เพียงไม่กี่ราย เช่น Xiaomi, iRobot, Mister Robot, Ecovac และ Autobot ซึ่งในกลุ่มผู้เล่นหลัก ๆ นี้ มีเพียง Mister Robot และ Autobot ที่เป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแบรนด์ไทย

Brand Inside ได้มีโอกาสพูดคุยกับธรรมสร มีรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท โรบอท เมคเกอร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแบรนด์ Autobot ถึงสภาพตลาดหุ่นยนต์ดูดฝุ่นในประเทศไทย คุณ ธรรมสรเล่าว่าปัจจุบันตลาดหุ่นยนต์ดูดฝุ่นในประเทศไทย มีมูลค่าระดับพันล้านบาท โดยเติบโตปีละ 20-30% ตามการเติบโตของตลาดโลก โดยในขณะนี้ผู้เล่นรายหลัก ๆ ในไทย ได้แก่ Xiaomi, Ecovac, iRobot, Mister Robot และ Autobot

(21)_คุยกับผู้บริหาร_Autobot_แบรนด์หุ่นยนต์ดูดฝุ่นสัญชาติไทย_ที่ตั้งเป้าหมายเป็นเทคคอมพานี_(2)

เน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์

โดย Autobot เอง มีส่วนแบ่งการตลาดใน Shopee เป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่ขายดีที่สุดอันดับ 1 และมีสัดส่วนการขายที่เน้นช่องทางออนไลน์เป็นหลัก ในสัดส่วนช่องทางออนไลน์ 80% และออฟไลน์อีก 20% ผ่านหน้าร้านที่มีเพียง 4 แห่งในประเทศ คุณธรรมสรเล่าสำหรับแบรนด์ Autobot ว่าเป็นแบรนด์ที่มีอายุราว ๆ 8 ปีแล้ว โดยเริ่มจากการนำเข้าหุ่นยนต์ดูดฝุ่นจากต่างประเทศเข้ามาวางจำหน่ายในประเทศไทยก่อน แต่ตอนนี้ Autobot เปลี่ยนกลยุทธ์การทำธุรกิจใหม่เป็นการออกแบบและดีไซน์หุ่นยนต์ดูดฝุ่นด้วยตัวเอง สำหรับหุ่นยนต์ดูดฝุ่น แบรนด์ Autobot มีให้เลือกหลากหลายราคา ตั้งแต่ 3 พันบาท ไปจนถึง 3 หมื่นบาท โดยหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่คนนิยมซื้อมากที่สุด ยังเป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่นในกลุ่มราคาถูกมากกว่ารุ่นราคาแพง ทำให้ยอดขายในปี 2563 อยู่ที่ 200 ล้านบาท เติบโต 50% จากปี 2562 และโดยเฉลี่ยแล้ว Autobot มียอดขายจากหุ่นยนต์ดูดฝุ่นราว 20,000 เครื่องต่อปี

(21)_คุยกับผู้บริหาร_Autobot_แบรนด์หุ่นยนต์ดูดฝุ่นสัญชาติไทย_ที่ตั้งเป้าหมายเป็นเทคคอมพานี_(3)  

ตั้งเป้าหมายเติบโต 2 เท่า ในปี 2564

ส่วนเป้าหมายในปี 2564 นี้ Autobot ต้องการเติบโตให้ได้ 2 เท่าของปี 2563 อย่างไรก็ตามการขายหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถทำให้ยอดขายเติบโตได้มากนัก เพราะในปัจจุบันตลาดหุ่นยนต์ดูดฝุ่นยังมีสัดส่วนที่น้อยมาก Autobot จึงเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำธุรกิจใหม่ด้วยการสร้าง Ecosystem โดย Autobot ต้องการขยายกลุ่มของสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น นอกจากหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ซึ่งคิดเป็น 70% ของยอดขายแล้วดังนั้น Autobot จึงจะมีการเพิ่มสินค้าในกลุ่ม AIoT มากขึ้น เช่น Smart Switch, Digital Door Lock, เครื่องชงกาแฟ เครื่องฟอกอากาศ และเครื่องอบรองเท้า เป็นต้น

 

ในการสร้าง Ecosystem ต้องมีการซื้อซ้ำของผู้บริโภค การทำเช่นนี้จำเป็นต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรและต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ข้อมูลจากพฤติกรรมของลูกค้าที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ของ Autobot อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ในการสร้าง Ecosystem ของ Autobot นี้ ก็เหมือน ๆ กับที่ Xiaomi กำลังทำอยู่ อย่าลืมว่า Xiaomi เองก็มีหุ่นยนต์ดูดฝุ่นในแบรนด์ Roborock และอุปกรณ์ AIoT ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน คุณธรรมสรเล่าถึงความแตกต่างของ Xiaomi กับ Autobot ว่า “Xiaomi ที่จะเน้นทำสินค้าคุณภาพดี ดีไซน์สวยในราคาที่ถูก แต่ถ้าสินค้ามีปัญหาลูกค้าจะต้องแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง ในทางตรงกันข้าม Autobot จะเน้นความง่าย และมีบริการหลังการขาย ข้อดีคือลูกค้าสามารถแชทไลน์หาพนักงานได้เลย

นอกจากสินค้าในกลุ่ม AIoT แล้ว ในปีนี้ Autobot ยังมีแผนที่จะเปิดตัวหุ่นยนต์ทำความสะอาดห้องน้ำอัตโนมัติ โดยเป็นการพัฒนาโดย Autobot เอง จาก Pain Point ว่าการใช้ห้องน้ำในประเทศไทย ไม่ได้แยกส่วนเปียกส่วนแห้งแบบประเทศอื่น ๆ

อ่านต่อที่

1. บทความที่แปลเป็นภาษาเกาหลี

https://blog.naver.com/thaibiz_diary/222455491590

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

ข่าวใกล้เคียง

ข่าวใกล้เคียง