(18) เทคโนโลยีชีวภาพ...แนวโน้มในอนาคต

(18) เทคโนโลยีชีวภาพ...แนวโน้มในอนาคต

วันที่นำเข้าข้อมูล 29 ก.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 22,446 view
 
(18)_เทคโนโลยีชีวภาพ...แนวโน้มในอนาคต_(1)
 
 
บริษัท เอ็ม-เคลีย ไบโอรีซอร์ส

หากพูดถึงเทคโนโลยีชีวภาพหลายๆท่านคงมีคำถามมากมายว่าเทคโนโลยีชีวภาพคืออะไรและจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบว่า เทคโนโลยีชีวภาพคืออะไรทำไมหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจึงหันมาให้ความสนใจเทคโนโลยีชีวภาพจนถึงขนาดส่งเสริมต่อธุรกิจด้านนี้อย่างมากซึ่งแน่นอนว่าสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ บีโอไอ ก็เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ให้ความสนใจธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ และต้องการให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศไทยมากขึ้น

เทคโนโลยีชีวภาพ (Bio Technology) คืออะไร

เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคนิคการนำสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาพัฒนาหรือปรับปรุงพืชสัตว์หรือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อประโยชน์เฉพาะตามที่ต้องการซึ่งเป็นสหวิทยาการที่นำความรู้พื้นฐานสิ่งมีชีวิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตั้งแต่เรื่องการขยายและปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิตทั้งหลายการนำผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตไปแปรรูปเป็นอาหารหรือยารวมถึงกระบวนการที่ใช้แปรรูปผลผลิตในระดับโรงงานและกระบวนการที่ใช้สิ่งมีชีวิตเช่นจุลชีพในการบำบัดน้ำเสีย หรือ การนำของเสียไปใช้ประโยชน์ เช่นนำไปใช้ทำปุ๋ย เป็นต้น

เทคโนโลยีชีวภาพ มีความสำคัญอย่างไร

เทคโนโลยีชีวภาพได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านเกษตรกรรม อาหาร การแพทย์และเภสัชกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มวลมนุษย์สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นปัจจุบันมีการนำวิทยาการด้านเทคโนโลยี-ชีวภาพมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ที่เด่นชัดที่สุดคือ ในทางการแพทย์และการเกษตร อีกทั้งประเทศไทยยังมีความคาดหวังจะเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ BIO HUB เห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 และยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศสู่ AEC

วารสารส่งเสริมการลงทุนฉบับนี้ จะแนะนำผู้อ่านให้รู้จักกับธุรกิจน่าสนใจและแปลกใหม่สำหรับประเทศไทย คือ ธุรกิจผลิตสัตว์ทดลองปลอดเชื้อจำเพาะด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ของบริษัท เอ็ม-เคลีย ไบโอรีซอร์ส จำกัด ซึ่งบริษัทได้จัดตั้งแล้วมีหุ้นไทยเป็นส่วนมาก โดยมีการถือหุ้นระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท โนมูระ สยาม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด CLEA JAPAN, INC. และ NOMURA JIMUSHO, INC. ดำเนินกิจการ-ผลิตการบริการการตรวจวิเคราะห์การวิจัย และการทดสอบที่เกี่ยวกับงานวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง

โครงการการวิจัยพัฒนาและผลิตสัตว์ทดลองปลอดเชื้อจำเพาะ (SPF : Specific Pathogen Free) มีการร่วมมือกันระหว่าง 1) ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติมหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับทดสอบคุณภาพของสัตว์ทดลอง 2) CLEA JAPAN, INC. (ญี่ปุ่น) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสัตว์ทดลองปลอดเชื้อจำเพาะ อาหาร กรง และอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงสัตว์ทดลอง รวมถึงการวิจัยและพัฒนา การบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสัตว์ทดลอง

ทั้งนี้ สัตว์ทดลองปลอดเชื้อจำเพาะหมายถึง สัตว์ทดลองที่ถูกเลี้ยงดูภายในห้องปลอดเชื้อโดยมีระบบการตรวจติดตามหาเชื้อจำเพาะที่ละเอียดและแม่นยำ ซึ่งเป็นสัตว์ทดลองจะถูกเพาะพันธุ์ภายใต้การควบคุมและป้องกันจากเชื้อจำเพาะต่างๆ และมีการตรวจสอบสภาวะปลอดเชื้อตามที่กำหนดใน SPL (Specific Pathogen List)

สัตว์ทดลองมีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีนเนื่องจากเป็นสัตว์ที่ถูกรักษาสายพันธุ์ให้บริสุทธิ์และพันธุกรรมคงที่ ด้วยการผสมพันธุ์เฉพาะภายในกลุ่มนั้นจะทำให้มีร่างกายที่ไม่แข็งแรง มีความทนทานต่อโรคต่ำ จึงจำเป็นจะต้องเลี้ยงดูภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดโรคหรือเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งสัตว์ทดลองเช่นนี้ เมื่อนำมาทดลองตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะให้ผลที่คงที่ เพราะไม่มีสิ่งปนเปื้อน

ธุรกิจผลิตสัตว์ทดลองปลอดเชื้อจำเพาะด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยอีกทั้งธุรกิจนี้ยังเป็นการสนับสนุนทางอ้อมสำหรับอุตสาหกรรมทางการแพทย์และเครื่องสำอางในประเทศรวมถึงเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บุคลากรภายในประเทศไทย เพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้อีกด้วย

อ่านต่อที่

1. บทความที่แปลเป็นภาษาเกาหลี

https://blog.naver.com/thaibiz_diary/222447311753

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

ข่าวใกล้เคียง

ข่าวใกล้เคียง