(28) “ดินสอ” หุ่นยนต์ไทย ก้าวต่อไปไม่หยุดยั้ง

(28) “ดินสอ” หุ่นยนต์ไทย ก้าวต่อไปไม่หยุดยั้ง

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 พ.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 9,737 view
 
 
 
로봇3

หลายปีก่อน “คนไทย” กับ “การผลิตหุ่นยนต์” อาจเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง แต่ปัจจุบันหลายบริษัทสัญชาติไทยเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์หรืออุปกรณ์อัตโนมัติ และบริษัท ซีที เอเซียโรโบติกส์ จำกัด ก็เป็นบริษัทไทยชั้นนำเจ้าของหุ่นยนต์ “ดินสอ” ซึ่งหลายคนรู้จักเป็นอย่างดี

จากวันนั้นถึงวันนี้

“ดินสอ” ถือกำเนิดในฐานะหุ่นยนต์เพื่อการบริการรายแรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี2552 ซึ่งในวันนั้นความสำเร็จคือการประกอบให้มีรูปร่างเป็นหุ่นยนต์และสามารถบังคับให้เคลื่อนไหวตามสั่งได้เป็นหุ่นยนต์ต้นแบบที่ไม่มีขีดความสามารถอื่นๆ

ต่อมาบริษัทได้พัฒนาและเติมความสามารถต่างๆ ให้กับ“ดินสอ” เช่นความสามารถในการมองเห็นการสื่อสาร และเคลื่อนที่ได้อัตโนมัติโดยไม่ชนกับมนุษย์หรือสิ่งกีดขวาง เป็นต้น ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ควบคู่กันไป

ดังนั้นในปี 2553 บริษัทจึงมุ่งพัฒนา “ดินสอ” สู่เชิงพาณิชย์ ด้วยการส่งหุ่นยนต์ดินสอจำนวน 10 ตัว ไปเปิดตัวกับลูกค้าในร้าน สุกี้ชื่อดัง “เอ็มเค เรสโตรองค์” ด้วยการรับคำสั่งแล้วไปเสิร์ฟอาหารให้แก่ลูกค้า พร้อมทั้งตอบโต้และแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ เป็นการสร้างสีสันให้ร้านอาหารได้เป็นอย่างดีจึงไม่น่าประหลาดใจที่ในปี2554หุ่นยนต์ดินสอจำนวน 14 ตัว ได้ไปเสิร์ฟอาหารไกลถึง ร้านอาหารใน Lidköpingประเทศสวีเดน

ในปี 2558 บริษัทได้ก้าวสู่งานบริการด้านสุขภาพเต็มตัว ด้วยการผลิตหุ่นยนต์ดินสอรุ่นที่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ซึ่งขณะนี้บริษัทกำลังจะเปิดตัวหุ่นยนต์ดินสอสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องนอนติดเตียง และรุ่นที่สามารถเคลื่อนไหวในบ้านพักอาศัยได้

로봇2  

แรงบันดาลใจสร้างนวัตกรรม

คุณเฉลิมพลปุณโณทกกรรมการผู้จัดการบริษัทซีทีเอเซียโรโบติกส์จำกัดมีแรงบันดาลใจตั้งแต่ครั้งเป็นนิสิตในรั้วมหาวิทยาลัยว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ต้องการสร้างสรรค์สิ่งที่มี

ความพิเศษ อยากเห็นประเทศไทยเป็นเจ้าของนวัตกรรม มีเทคโนโลยีและแบรนด์เป็นของตนเอง จึงสนใจธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์และการผลิตหุ่นยนต์ โดยมีความหวังที่จะจำหน่ายทั่วโลกทั้งหุ่นยนต์ที่ใช้ในภารกิจเสี่ยงอันตราย เช่น การซ่อมท่อใต้น้ำ เป็นต้น รวมถึงหุ่นยนต์ที่ใช้ดูแลผู้สูงอายุด้วย

และเมื่อวิเคราะห์อุตสาหกรรมนี้แล้ว คุณเฉลิมพลให้ความเห็นว่า “ประเทศไทยไม่ค่อยมีผู้ผลิตหุ่นยนต์อย่างเป็นเรื่องเป็นราวและถ้าต้องการให้หุ่นยนต์ตัวใด เก่งด้านใด ต้องเลือกให้เฉพาะทาง” ตัวอย่างคือ ASIMO หุ่นยนต์ชื่อดังค่ายฮอนด้า

‘เมื่อปี 2556 “ดินสอ II” จึงได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหุ่นยนต์ให้บริการดูแลผู้สูงอายุและในปีถัดมาได้กำเนิด “ดินสอ III” ซึ่งมีขีดความสามารถที่สูงขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุนอกจากนี้ในปี 2558 บริษัทได้พัฒนา “ดินสอมินิ” ซึ่งจะตั้งไว้ข้างเตียงผู้สูงอายุเพื่อคอยช่วยเหลือผู้สูงอายุความสามารถต่างๆของหุ่นยนต์ดินสอเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุมี เช่น

• ระบบแขนกลออกแบบให้เลียนแบบกล้ามเนื้อแขนของมนุษย์ ด้วยการใช้เส้นสลิงค์ในการควบคุมการเคลื่อนที่ ทำให้สามารถพับงอหมุนได้7 จุดต่อ 1 แขน เพื่อให้สามารถทำการเสิร์ฟอาหาร หยิบสิ่งของ รวมถึงไหว้และโบกมือ

• ติดตั้งนวัตกรรมใหม่ที่ชื่อ DinsowSpondซึ่งเป็นระบบเรียกให้โทรกลับเพื่อแจ้งให้แพทย์หรือลูกหลาน ติดต่อกลับหาผู้สูงอายุได้อย่างรวดเร็ว

• ระบบปฏิบัติการแบบ Real Time Monitoring เชื่อมต่อกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น Smartphone, Notebook ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยให้บุตรหลาน สามารถดูแล และเห็นสภาพความเป็นไปของผู้สูงอายุจาก สถานที่ต่างๆ ได้

• ติดตั้งอุปกรณ์เช็กสัญญาณชีพ Vital Sign ส่งข้อมูลตรงไปยังแพทย์ผู้มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุรายนั้นๆ ช่วยให้แพทย์สามารถเก็บข้อมูลผู้สูงอายุได้โดยไม่จำเป็น ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่โรงพยาบาล รวมทั้งสามารถวัดไข้

ดินสอIII - ตรวจลมหายใจ ความชื้น เฝ้าดูการหลับ ตรวจจุดกดทับ และวัดคลื่นหัวใจ กรณีที่คนไข้มีอัตราการเต้นของหัวใจ ผิดปกติจะมีเสียงเตือนทันที

การพัฒนาความสามารถของหุ่นยนต์ดินสอ ไม่ได้หยุดยั้งเพียงเท่านี้บริษัทจะพัฒนาให้ดินสอเปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยแพทย์ ซึ่งบริษัทได้ทำบันทึกความเข้าใจกับโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี เป็นต้น ให้หุ่นยนต์ดินสอช่วยวัดค่าต่างๆ เช่น ความดัน อุณหภูมิร่างกาย และระดับออกซิเจน เป็นต้น แล้วส่งค่าเข้าแท็บเล็ตของแพทย์เจ้าของไข้เพื่อประเมินผลได้จาก ระยะไกล และในอนาคตจะมีความสามารถเพิ่มมากกว่านี้

“ตลาดส่งออกหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุจะเน้นที่สวีเดนและญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทมีพาร์ทเนอร์อยู่แล้ว

แม้หุ่นยนต์ ของประเทศเหล่านี้อย่างญี่ปุ่นจะมีเทคโนโลยีและความสามารถที่สูง แต่ไทยยังสู้ได้ในเรื่องของต้นทุนที่ต่ำกว่า และบริษัทเองก็เลือกกลยุทธ์ Blue Ocean คือเน้นการสร้างสรรค์สิ่งยากที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และเป็นการแสวงหาทะเลแห่งใหม่ แทนที่จะเป็นทะเลที่แดงด้วยเลือด (Red Ocean) ซึ่งมีคู่แข่งมาก เช่น ผู้ผลิตแขนกลต่างๆ ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีผู้ผลิตรายใหญ่ทั่วโลกมากกว่า 20 แห่ง ดังนั้นเราเลือกผลิตหุ่นยนต์ให้บริการแบบที่เขาไม่ค่อยผลิตกัน และเราคิดว่า

เราสู้ได้” คุณเฉลิมพล กล่าวทิ้งท้าย

로봇4

มาตรการส่งเสริมการลงทุน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ก็เล็งเห็นความสำคัญของการสนับสนุนอุตสาหกรรม อุปกรณ์อัตโนมัติและหุ่นยนต์โดยออก “นโยบายส่งเสริมคลัสเตอร์” เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการแบบคุณเฉลิมพล ซึ่งไม่แน่ว่า ในอนาคต อาจจะมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ก้าวขึ้นมาเป็นสตาร์ทอัพผู้ผลิตหุ่นยนต์แบบ “ดินสอ” ก็เป็นได้

สำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและคลัสเตอร์หนึ่งในนั้นคือ “คลัสเตอร์อุตสาหกรรมอุปกรณ์อัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation and Robotics)” ซึ่งผู้ได้รับการส่งเสริมฯ สามารถตั้งโรงงานในประเทศได้ โดยไม่จำกัดสถานที่ตั้ง และจะได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปีรวมถึงลดหย่อนร้อยละ 50 อีก 5 ปี ด้วยเงื่อนไขว่า จะต้องมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หรือศูนย์ความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนาบุคลากร และยกระดับเทคโนโลยี

อ่านต่อที่

1. บทความที่แปลเป็นภาษาเกาหลี

https://blog.naver.com/thaibiz_diary/222504206554

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

ข่าวใกล้เคียง

ข่าวใกล้เคียง