วันที่นำเข้าข้อมูล 18 พ.ย. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
ปัจจุบันอุตสาหกรรมฮาลาลกำลังเป็นเป้าหมายสำคัญเพราะประเทศไทยมีศักยภาพและความพร้อมที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการนำวัตถุดิบภาคเกษตรกรรมที่มีอยู่ในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการผลิตสินค้าและบริการเพื่อส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้จำนวนมหาศาลเข้าสู่ประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมอุตสาหกรรมฮาลาลจึงเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่รัฐบาลไทยหันมาให้ความสนใจพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อก้าวเป็นผู้นำในการเปิดตลาดการค้ากับโลกมุสลิม
คำว่าฮาลาลมาจากภาษาอาหรับเป็นศัพท์นิติศาสตร์อิสลามแปลว่าอนุมัติสำหรับการกระทำทุกอย่างของมุสลิมทั้งกริยาวาจาและจิตใจเช่นการรับประทานเนื้อสัตว์ที่สามารถบริโภคได้และได้รับการเชือดอย่างถูกต้องตามหลักของศาสนาอิสลามการประกอบอาชีพที่สุจริตการแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลามและการไม่พูดหรือกระทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นเป็นต้นซึ่งอิสลามได้มีคำสอนทุกอย่างที่ชัดเจนว่าสิ่งใดเป็นHALAL (อนุมัติ) หรือสิ่งใดเป็นHARAM(ต้องห้าม)ในการดำรงชีวิตของมุสลิมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสันติสุข (อิสลามแปลว่าสันติสุข)
มีหลักการข้อหนึ่งที่น่าสนใจคือการที่จะเข้าไปทำการค้าอย่างมืออาชีพกับกลุ่มเป้าหมายใดจำเป็นต้องเข้าใจความต้องการวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมายนั้นอย่างแท้จริงจากนนั้นหาวิธีการหรือแนวทางเพื่อตอบสนองความต้องการนั้นด้วยความเข้าใจเข้าถึงและจริงใจการเปิดตลาดในกลุ่มเป้าหมายนั้นก็จะประสบผลสำเร็จเมื่อสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายสำเร็จแล้วสิ่งที่สำคัญยิ่งคือการรักษามาตรฐานให้คงอยู่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ของลูกค้าและการที่มุสลิมทั่วโลกจะยอมรับผลิตภัณฑ์ใดผลิตจากประเทศใดหรือไม่นั้นสิ่งแรกที่มุสลิมทั่วโลกพิจารณาคือผลิตภัณฑ์นั้นมีเครื่องหมายมาตรฐานหรือไม่ดังนั้นหากจะทำการค้าหรือเปิดตลาดกับโลกมุสลิมซึ่งมีประชากรจำนวนมหาศาลประมาณ1ใน4ของประชากรโลกมาตรฐานคือสิ่งแรกที่ต้องพิจารณา
ดร.อรรชการสีบุญเรืองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่าปัจจุบันประชากรมุสลิมทั่วโลกมีกว่า1,700ล้านคนและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น2,800ล้านคนในปี2593จากการที่ตลาดโลกมุสลิมมีอัตรา การขยาตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วจึงทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลสำหรับตลาดโลกแห่งนี้ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปัจจุบันรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลซึ่งจะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจและสินค้าฮาลาลแห่งชาติขึ้นพร้อมเห็นชอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมและ
พัฒนาศักยภาพธุรกิจสินค้าและบริการฮาลาลพ.ศ. 2559-2563ระยะ5ปีและแผนปฏิบัติการ
ภายใต้ยุทธศาสตร์ฯซึ่งครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า“สรรค์สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลไทยให้มีมาตรฐานชั้นนำในตลาดฮาลาลโลกภายใต้หลักการศาสนารับรองวิทยาศาสตร์รองรับ”
ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะเป็นการร่วมมือกันจากหลายหน่วยงานได้แก่กระทรวงอุตสาหกรรมกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงพาณิชย์กระทรวงศึกษาธิการกระทรวงสาธารณสุขและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้รวมทั้งองค์กรศาสนาและภาคเอกชนอาทิสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยสำนักจุฬาราชมนตรีสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทยเป็นต้น
รศ.ดร.วินัยดะห์ลันกล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ที่27พฤศจิกายน2558ณมัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ตอนหนึ่งว่า “ปัจจุบันตลาดอาหารฮาลาลโลกมีมูลค่ากว่า1.2ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปีขณะที่ประเทศไทยส่งออกหากเทียบสัดส่วนแล้วไม่ถึงร้อยละ0.5นั่นหมายความว่าเรายังมีโอกาสเติบโตอีกมากและเมื่อพิจารณาจากตลาดอาหารฮาลาลโลกแม้ตลาดมุสลิมจะมีประมาณร้อยละ20ของตลาดโลกแต่นับจากนี้ไปตลาดฮาลาลจะขยายไปในตลาดที่มิใช่มุสลิมมากขึ้นโดยกล่าวกันว่าอาจขยายไปถึงร้อยละ89ของตลาดอาหารโลกหรือครอบคลุมประชากรถึง6,400ล้านคนจากประชากรทั้งโลก7,200ล้านคนไม่ใช่จำกัดเฉพาะตลาดมุสลิม1,800ล้านคนเท่านั้นซึ่งหมายความว่าตลาดอาหารฮาลาลในอนาคตจะเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก”
ผู้เขียนมองว่ามาตรฐานนอกจากจะเป็นกุญแจดอกแรกที่สำคัญในการเปิดตลาดการค้ากับโลกมุสลิมแล้วต่อไปลูกค้าของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐานได้แก่คนทั้งโลกที่ต้องการอาหารที่สะอาดถูกหลักอนามัยมีความปลอดภัยในทุกขั้นตอนการผลิตโดยบูรณาการสิ่งที่มีอยู่และเพิ่มสิ่งจำเป็นบางอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดมุสลิมผลที่จะได้ในการลงทุนนี้คือผลประโยชน์อย่างมหาศาลเป็นทั้งการสร้างอาชีพให้คนไทยได้ส่วนแบ่งตลาดทางการค้าและสร้างรายได้ให้ประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนตลอดไป
29 ก.ค. 2564
3 ส.ค. 2564
18 พ.ย. 2564