(20) S&P จากร้านไอศกรีมเล็กๆ คูหาเดียว สู่เชนร้านอาหารยอดขาย 7,000 ล้าน

(20) S&P จากร้านไอศกรีมเล็กๆ คูหาเดียว สู่เชนร้านอาหารยอดขาย 7,000 ล้าน

วันที่นำเข้าข้อมูล 29 ก.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 3,892 view

 

(20)_S_P_จากร้านไอศกรีมเล็กๆ_คูหาเดียว_สู่เชนร้านอาหารยอดขาย_7_000_ล้าน_(1)
 

“ชื่อนี้มีแต่ของอร่อย” สโลแกนที่บางคนอาจคุ้น ซึ่งเป็นสโลแกนของ S&Pแบรนด์ร้านอาหารไทยและเบเกอรี ที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 47ปี รู้ไหมว่า S&P จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งมีมูลค่า บริษัทกว่า 4,400 ล้านบาท และบริษัทไม่ได้มีแค่แบรนด์S&Pแต่ยังมีแบรนด์ร้านอาหารอื่นๆ อีก เช่น Maisen Umenohana และ Bluecup

ความเป็นมาของ S&P ร้านอาหารและเบเกอรีแถวหน้าของเมืองไทยเป็นอย่างไร

เมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยพี่น้องตระกูลไรวา และตระกูลศิลาอ่อนได้ร่วมลงขันกันคนละ 25,000บาท เพื่อเปิด ร้านขายไอศกรีมของโฟร์โมสต์ในตึกแถวคูหาเดียวเล็กๆ ที่ซอยสุขุมวิท 23 (ซอยประสานมิตร) ภายใต้ชื่อร้านว่า“S&P Ice-Cream Corner”แต่พอดำเนินธุรกิจไปสักพัก พวกเขาเริ่มรู้สึกว่าการขาย ไอศกรีมอย่างเดียวคงไม่สามารถสร้างยอดขายได้เพียงพอ จึงตัดสินใจเพิ่มเมนูอาหารจานเดียว ของว่างต่างๆรวมถึงเบเกอรีเข้าไป เพื่อบริการลูกค้า

 

ซึ่งปรากฏว่าทางร้านประสบความสำเร็จพอตัว และได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า จนในซอยพูดถึงกันมาก เนื่องจากในสมัยนั้น ยังไม่ค่อยมีร้านอาหารที่เป็นห้องแอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นร้านตามข้างทาง หรือร้านอาหารในโรงแรม ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง

 

ด้วยคุณภาพของอาหาร รสชาติ และความแปลกใหม่ของรูปแบบร้านทำให้ร้าน S&P มีลูกค้าเข้ามาใช้ บริการอย่างหนาแน่นและด้วยพฤติกรรมของคนไทยที่มีแนวโน้มหันมาทานอาหารนอกบ้านกันมากขึ้น S&P จึงเล็งเห็นโอกาส คือ มองว่าธุรกิจร้านอาหารของตัวเองมีศักยภาพมากพอ เลยตัดสินใจขยายสาขา เพิ่มโดยขยายสาขาไปที่สยามสแควร์ ในปี 2523 และสาขานี้ได้กลายเป็นต้นแบบของร้าน S&P อื่นๆ ในเวลาต่อมา ซึ่งร้านมีการแบ่งสัดส่วนชัดเจนระหว่างโซนอาหารกับเบเกอรี

 

หลังจากนั้นกิจการของ S&P ก็รุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เมื่อปี 2532 และมีการแตกแบรนด์ร้านอาหารใหม่ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น

 

ปัจจุบัน S&P ได้กลายเป็นอาณาจักรธุรกิจร้านอาหาร ที่มีหลายร้อยสาขาทั่วประเทศโดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 กลุ่ม S&P มีร้านอาหารที่เปิดให้บริการภายในประเทศ รวม 529 สาขา เช่น

S&P Bakery Shop ร้านเบเกอรีและกาแฟ รวม 356 สาขา

S&P Restaurant & Bakery ร้านอาหารบริการเต็มรูปแบบ รวม 144 สาขา

Maisen ร้านอาหารทงคัตสึ รวม 13 สาขา

BlueCup (Standalone) ร้านกาแฟสด รวม 3 สาขา

Umenohana ร้านอาหารญี่ปุ่น 2 สาขา

Nai Harng ร้านอาหารสไตล์ไทย-จีน 2 สาขา

 

ส่วนในต่างประเทศมีร้านอาหารเปิดให้บริการอยู่ 17 สาขาใน 5 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย จีน และกัมพูชา

 

แล้วที่ผ่านมา ผลประกอบการของกลุ่ม S&P เป็นอย่างไร

บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)

ปี 2561 มีรายได้ 7,710 ล้านบาท กำไร 400 ล้านบาท

ปี 2562 มีรายได้ 7,389 ล้านบาท กำไร 314 ล้านบาท

(20)_S_P_จากร้านไอศกรีมเล็กๆ_คูหาเดียว_สู่เชนร้านอาหารยอดขาย_7_000_ล้าน_(2)

สำหรับผลประกอบการ 6 เดือนแรกของปี 2563

บริษัท มีรายได้ 2,448 ล้านบาท ลดลง 30% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนและขาดทุน 77 ล้านบาทในขณะที่ 6 เดือนแรกของปี 2562 มีกำไร 110 ล้านบาทซึ่งผลประกอบการที่ได้รับ ผลกระทบอย่างหนัก มีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์โควิด 19 ที่ทำให้รัฐบาลออกมาตรการต่างๆ และสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวส่งผลให้ S&P ต้องปิดสาขาร้านอาหารชั่วคราว และเปิดจำหน่าย เฉพาะการซื้อกลับบ้านเท่านั้น

 

ซึ่งก็มีร้านอาหารในเครือของ S&P ก็คือร้าน “VANILLA” ที่ทนพิษบาดแผลของโควิด 19 ไม่ไหวจนต้องจำใจ ประกาศปิดกิจการลงทุกสาขาอย่างถาวรในที่สุด เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาแต่อย่างไรก็ดี ด้วยการควบคุมโรคระบาดที่มีประสิทธิภาพและสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทยที่ผ่อนคลายขึ้นมาก จนทำให้ผู้คนกล้ากลับมาใช้ชีวิตได้เกือบปกติทุกอย่างแล้วได้ส่งผลให้กิจการร้านอาหารและยอดขายของ S&P ค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว

 

ทั้งนี้ สำหรับผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)เป็นคนของตระกูลศิลาอ่อน ถือหุ้นรวมกันอยู่ 14.3% และตระกูลไรวาถือหุ้นรวมกันอยู่ 26.7% แต่ที่น่าสนใจคือบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เจ้าของเชนโรงแรม เช่น อนันตราอวานี และโฟร์ซีซั่นส์ และเจ้าของเชนร้านอาหารมากมายในไทย เช่น เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ซิซเล่อร์ บอนชอน เบอร์เกอร์คิง สเวนเซ่นส์ และแดรี่ควีนก็เป็นหนึ่งในถือหุ้นใหญ่ โดยถือหุ้นอยู่ 35.9%

 

เริ่มแรกบรรดาผู้ก่อตั้ง S&P ตระกูลไรวาและตระกูลศิลาอ่อนตั้งใจจะเปิดร้าน S&P ให้เป็น ธุรกิจครอบครัวเล็กๆ สำหรับพี่ๆ น้องๆ เท่านั้น ไม่ได้หวังให้กลายเป็นเชนร้านอาหารระดับประเทศเหมือน อย่างทุนวันนี้แต่ด้วยความใส่ใจในสิ่งที่ทำ ใส่ใจในลูกค้า และตั้งใจทำสิ่งตรงหน้าให้ดีที่สุด ไม่ว่าผลลัพธ์ จะออกมาเป็นอย่างไรบวกกับเอื้อมมือไปไขว่คว้าทุกโอกาสที่เข้ามาหาอย่างไม่ลังเลซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ ได้กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พวกเขาสามารถปลุกปั้น S&P จนมีวันนี้ และประสบความสำเร็จเกินกว่า ที่หวังไว้นั่นเอง

อ่านต่อที่

1. บทความที่แปลเป็นภาษาเกาหลี

https://blog.naver.com/thaibiz_diary/222449670294

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

ข่าวใกล้เคียง

ข่าวใกล้เคียง