(23) SME ไทย โฟร์ ฟูดส์(Four Foods)

(23) SME ไทย โฟร์ ฟูดส์(Four Foods)

วันที่นำเข้าข้อมูล 1 ก.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 2,673 view

(23)_SME_ไทย_โฟร์_ฟูดส์(Four_Foods)_(1)

 

ปรุงรสต่อยอดธุรกิจ

“ธุรกิจอาหารทุกธุรกิจต้องใช้ผงปรุงรส เพราะปัจจุบันไม่มีใครทําสินค้าโดยผลิตเองทั้งหมด”

คุณสมเจตน์ ปัญจวัฒนางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฟร์ ฟูดส์ จํากัด กล่าวไว้ อุตสาหกรรมอาหารมีตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การแปรรูป การจําหน่ายไปจนถึงการให้บริการร้านอาหาร ดังนั้นการสร้างอาหารให้มีลักษณะเฉพาะและโดดเด่นจึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญ และเคล็ดลับหนึ่งในอุตสาหกรรมนี้คือ ผงปรุงรส0

บริษัทโฟร์ ฟูดส์ จํากัด เริ่มต้นจากห้องแถวเล็ก ๆ ในกรุงเทพมหานคร รับซื้อสินค้าเกษตรอบแห้งเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้า และเมื่อความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น บริษัทก็พัฒนาสูตรผงปรุงรสสำหรับลูกค้าแต่ละราย จึงตัดสินใจก่อตั้งโรงงานเพื่อจัดเก็บวัตถุดิบและผลิตผลปรุงรส ซึ่งช่วยให้ผลิตได้มากขึ้นและมีมาตรฐาน ผ่านการรับรองจาก อย. ISO GMP HACCP FSSC 22000 และ SEDEX บริษัท ฯ พัฒนามาเป็นโรงงานผู้ผลิตผงปรุงรสในแบรนด์ “ไทเชฟ” และได้เพิ่มโอกาสนำเสนอสินค้าให้กับลูกค้ารายใหญ่

กลุ่มลูกค้าของบริษัท โฟร์ ฟูดส์ จํากัด สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มหลักคือ ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป ไส้กรอก ลูกชิ้นหรือเนื้อสัตว์ผลิตภัณฑ์แช่แข็ง และกลุ่มทั่วไป เนื่องจากบริษัทมีทีมงานที่เชี่ยวชาญเพื่อตอบสนองความต้องการทุกกลุ่มลูกค้า บริษัท โฟร์ ฟูดส์ จํากัด จึงเข้าไปศึกษาความต้องการของแต่ละธุรกิจ และนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิจัยและพัฒนาร่วมกับลูกค้า จนกว่าจะพัฒนาเป็นสูตรเฉพาะของแต่ละรายสำเร็จ

บริษัทโฟร์ ฟูดส์ จํากัด ได้ก่อตั้งแบรนด์ “ไทเชฟ (Thy Chef)” เพื่อรองรับกลุ่ม SMEs รายย่อย ทั้งนี้เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าตามตลาดซื้อผงปรุงรสที่มีปริมาณไม่มากไปใช้ได้ ในที่นี้คุณภาพและมาตรฐานคือหัวใจ หัวใจสําคัญในการทําผงปรุงรสของบริษัท โฟร์ ฟูดส์ จํากัด คือ วัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน

คุณสมเจตน์อธิบายว่า“ตั้งแต่เราเปิดบริษัทมา เรามุ่งเป้าและให้ความสําคัญกับเรื่องวัตถุดิบเป็นหลัก เพราะว่าถ้าวัตถุดิบมีคุณภาพที่ดี เมื่อนำไปใช้งานหรือผลิตสินค้าออกมา ก็มีโอกาสที่ผลลัพธ์จะออกมาดีตามไปด้วย ดังนั้นการคัดเลือกวัตถุดิบจึงต้องทําอย่างพิถีพิถัน แม้ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์แห้งแต่ก็สามารถควบคุมคุณภาพได้ตามข้อกำหนดของ อย. และนอกจากนี้ในแต่ละปีบริษัทยังส่งเจ้าหน้าที่จัดซื้อไปตรวจเยี่ยมซัพพลายเออร์ว่าสามารถทําได้ตามมาตรฐานที่กําหนดหรือไม่”

(23)_SME_ไทย_โฟร์_ฟูดส์(Four_Foods)_(2)  

โควิด-19 ไม่กระทบมาก

เมื่อถามถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อธุรกิจของบริษัท คุณสมเจตน์ บอกว่า ได้รับผลกระทบบ้าง แต่ไม่มากเท่าไร เพราะบริษัทมีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย วัตถุดิบบางชนิดที่ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ แน่นอนว่าเมื่อเกิดสถานการณ์นี้ การนําเข้าสินค้าบางชนิดหยุดชะงัก ฝ่ายจัดซื้อของบริษัทจึงต้องไปหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพทัดเทียมเพื่อมาใช้ทดแทนในการผลิต หรือหากไม่สามารถหาได้ก็อาจจะต้องยอมซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงและราคาแพงกว่ามาใช้ทดแทน

ตอนนี้ต้นทุนสินค้าทุกตัวแพงขึ้นแต่เรายังคงขายสินค้าในราคาเท่าเดิมให้กับลูกค้า สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และในขณะเดียวกันทางเราจะคิดค้นพัฒนาสินค้าใหม่ไปด้วย เมื่อคู่แข่งเปิดตลาดมาและขายสินค้าใหม่ ๆ พร้อมรองรับเขาได้ทันที ส่วนยอดขายนั้นสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การเดินทางไม่ได้ แต่ด้วยการขยายช่องทางการจัดจําหน่ายที่ทํามาตลอด ทําให้บริษัทสามารถเติมเต็มยอดขายทดแทนได้

แนะ SMEs ปรับตัวทั้งองค์กร

ในฐานะผู้ประกอบการ SMEs ที่ประกอบธุรกิจมา 18 ปี คุณสมเจตน์ให้คําแนะนํากับผู้ประกอบการต่าง ๆ ว่า ต้องปรับตัวทั้งองค์กร โดยยกตัวอย่างเช่น ต้องขายสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ฝ่ายจัดซื้อต้องหาวัตถุดิบรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ฝ่ายขายต้องไปหาลูกค้าเข้ามาเติม หรือจะทําหน้าที่ช่วยเหลือลูกค้าที่มีอยู่ได้อย่างไร ฝ่ายวิจัยพัฒนาก็ต้องพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า รวมถึงฝ่ายโรงงานก็ต้องพัฒนาให้ความรู้และอุปกรณ์ป้องกันไวรัสโควิด-19 แก่พนักงาน

ขอบีโอไอไม่ใช่เรื่องยาก

คุณสมเจตน์ย้อนเมื่อตอนเริ่มต้นการติดต่อขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ โดยโครงการแรกที่ขอรับการส่งเสริมฯ คือ มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน โดยการติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาโรงงาน การส่งเสริมฯ นี้ เราได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของเงินที่ใช้ลงทุนในระบบโซลาร์เซลล์ และได้ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรด้วย

และในเวลาต่อมาบริษัทก็ยื่นขอรับการส่งเสริมฯ จากบีโอไอตามมาตรการ SMEs โดยยื่นขอรับการส่งเสริมฯ ในกิจการผลิตผงปรุงรสอีกหนึ่งโครงการ ซึ่งโครงการประเภท SMEs นี้ มีการลงทุนเพียง 500,000 บาทก็สามารถยื่นขอบีโอไอได้แล้ว นอกจากสิทธิประโยชน์ที่ได้จากบีโอไอแล้ว การสามารถลดค่าใช้จ่ายก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทําให้ธุรกิจมีเงินทุนเพิ่มขึ้น สามารถนําไปต่อยอดธุรกิจได้

ท้ายนี้ คุณสมเจตน์ ยังบอกอีกว่า “ปัญหาด้านการจัดการเอกสารทางธุรกิจเมื่อไปขอรับการส่งเสริมฯ จากบีโอไอนั้น ไม่ต้องกังวลใจ เพราะบีโอไอมีความชํานาญพอ และมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนํา สามารถโทรศัพท์ปรึกษาได้”

1. บทความที่แปลเป็นภาษาเกาหลี

https://blog.naver.com/thaibiz_diary/222473444978

 

 

 


ข่าวใกล้เคียง

ข่าวใกล้เคียง