(12) เมื่อธุรกิจสร้างสรรค์ไทยไปกัมพูชา

(12) เมื่อธุรกิจสร้างสรรค์ไทยไปกัมพูชา

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ก.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 2,026 view

ผู้ประกอบการชาวไทยในอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์มีศักยภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเมื่อตลาดภายในประเทศเริ่มถึงจุดอิ่มตัวผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงานของไทยก็มองหาการเติบโตในต่างแดนเพิ่มเติมจากการทำธุรกิจภายในประเทศตัวอย่างหนึ่งของการรุกไปประกอบกิจการในต่างประเทศของบริษัท บายนซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด ทำให้เห็นว่าผู้ประกอบการสร้างสรรค์ชาวไทยสามารถนำประสบการณ์และองค์ความรู้ที่เคยทำในประเทศไทยไปปรับใช้กับการทำงานในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

คุณพิเชษฐตุรงคินานนท์กรรมการผู้จัดการบริษัทบายนซีเอ็มออร์กาไนเซอร์จำกัดและกรรมการผู้จัดการบริษัทเวิร์คแมนชิพเซ็ทแอนด์ดีไซน์จำกัดคือนักธุรกิจที่เข้าไปในประเทศกัมพูชาเพื่อทำงานด้านสร้างสรรค์การจัดงานและการทำพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2550 เขามาช่วยให้คำตอบกับการก้าวไปลงทุนทำธุรกิจในต่างประเทศว่ายังมีโอกาสและความท้าทายที่รออยู่โดยเฉพาะในกัมพูชา

“กัมพูชายังมีโอกาสทางธุรกิจอีกมากด้วยความใกล้ชิดทั้งทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมต่างๆ”

THAI_BIZ_12_(1)  

จากพื้นฐานการทำงานด้านการสร้างสรรค์การจัดงานและจัดทำพิพิธภัณฑ์ที่มีมาในประเทศไทยในช่วงเวลานั้นคุณพิเชษฐมองว่าการขยายตลาดในประเทศเริ่มใกล้ถึงจุดอิ่มตัวจึงเริ่มมองหาพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจขึ้นพวกเขาใช้เวลาประมาณ2 ปีศึกษาลู่ทางการลงทุนในประเทศข้างเคียงทั้งสปป. ลาวกัมพูชาเมียนมาเวียดนามแล้วบทสรุปที่ได้คือการเลือกไปทำธุรกิจในประเทศกัมพูชาคุณพิเชษฐให้เหตุผลว่ากัมพูชาเหมาะกับการไปทำธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงานโดยมีปัจจัยหลักคือบุคลากรที่สามารถทำได้และการคมนาคมขนส่งสิ่งของโดยสะดวกทั้งทางบกและทางอากาศ

คุณพิเชษฐมองว่าการเข้าไปเริ่มต้นธุรกิจในช่วงที่ตลาดกำลังเริ่มต้นเป็นโอกาสที่บริษัทจะสามารถเติบโตไปพร้อมกับตลาดได้ อีกทั้งบริษัทมีความสามารถที่จะนำบุคลากรผู้มีประสบการณ์และอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ในประเทศไทยเข้าไปใช้ในประเทศกัมพูชาได้

ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าเป็นกลุ่มธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชาประมาณ 80%อีก 20% เป็นธุรกิจจากต่างประเทศที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชาคุณพิเชษฐเล่าถึงแผนงานที่วางไว้สำหรับบริษัทนี้ว่า สามารถแบ่งได้เป็น 2 ตลาดใหญ่คือเมืองเสียมราฐจะเน้นการจัดงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น เพราะที่เมืองนี้งานประชุมสัมมนาต่างๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม ในขณะที่กรุงพนมเปญจะเน้นในด้านการจัดงานทางธุรกิจตามแนวโน้มการเชื่อมโยงทางธุรกิจในประเทศกัมพูชากับโลกที่มีมากขึ้นโดยมีการเตรียมทีมงานให้มีจุดเด่นตามที่ตลาดต้องการไว้รองรับ

THAI_BIZ_12_(2)  

ในฐานะคนที่ทำงานด้านการสร้างสรรค์ต้องมีการสื่อสารเรื่องราวต่างๆจำเป็นต้องไปสู่ผู้คนในวงกว้างและต้องสร้างความยอมรับให้กับคนในพื้นที่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำโดยเฉพาะเรื่องความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศเพื่อสร้างความไว้ใจให้กับชุมชน ตัวอย่างในช่วงที่ไปจัดงานแสงสีเสียงที่นครวัด บริษัทรับสมัครทีมงานท้องถิ่นให้มาทำหน้าที่นักแสดง ฝ่ายต้อนรับ รวมถึงแผนกอื่นๆ ขณะเดียวกันเชิญตัวแทนชุมชนผู้ประกอบการทางด้านการท่องเที่ยวและงานบริการด้านต่างๆ มาร่วมชมการแสดงในรอบซ้อมใหญ่ในแต่ละครั้งเพื่อให้เห็นว่าบริษัทเข้าไปทำงานนั้นไม่ได้สร้างความเสียหายอะไรให้กับคนกัมพูชา

จากประสบการณ์การเข้าไปทำงานในกัมพูชาคุณพิเชษฐบอกว่าคนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนอาจต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงกว่าที่คาดไว้ ทั้งค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือค่าเดินทาง อีกเรื่องที่ควรจะต้องใส่ใจคือเรื่องกฎหมาย เนื่องจากประกาศกฎหมายต่างๆ เป็นภาษากัมพูชาเป็นหลักและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนบางครั้งนักธุรกิจชาวต่างชาติที่เข้าไปทำธุรกิจติดตามไม่ทัน การมีพาร์ตเนอร์กัมพูชาจะช่วยเรื่องการทำความเข้าใจกฎหมายต่างๆ ได้ เพราะปัจจุบันกัมพูชามีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลายด้านที่เอื้อให้การทำธุรกิจสะดวกยิ่งขึ้น ดังนั้นการหาหุ้นส่วนธุรกิจในประเทศกัมพูชาจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ

THAI_BIZ_12_(3)  

กัมพูชายังมีโอกาสทางธุรกิจอีกมาก เป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจของไทยเพราะมีความใกล้ชิดทั้งทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและความเชื่อต่างๆโดยเฉพาะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สามารถเลือกนำสิ่งที่มีอยู่ไปปรับใช้กับการทำธุรกิจของตนในประเทศกัมพูชา เศรษฐกิจของกัมพูชาอยู่ในช่วงกำลังเติบโต สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มีความพร้อมเพิ่มขึ้นกว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ชาวกัมพูชามีมุมมองเชิงบวกต่อสินค้าไทยจึงส่งผลดีต่อนักธุรกิจไทยได้

คุณพิเชษฐทิ้งท้ายด้วยการให้คำแนะนำผู้ที่สนใจจะเข้าไปลงทุนในกัมพูชาโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมว่า

“อย่ากลัว ถึงแม้ว่ามีคนบอกว่าคนที่ไปลงทุนต่างชาติต้องเป็นบริษัทใหญ่ข้ามชาติ แต่ผมกลับเชียร์คนที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจใหม่ๆ ไม่ว่าบริษัทจะมีขนาดเท่าใด หากเป็นบริษัทที่คล่องตัว เปลี่ยนเร็วได้ เป็นข้อได้เปรียบของบริษัทขนาดกลางขนาดเล็กที่ควรจะเข้าไปทำเล็กๆอาจได้เปรียบกว่าบริษัทใหญ่ เพราะมีข้อดีคือ การลงทุนมีความเสี่ยงน้อยและไม่ต้องไปตั้งออฟฟิศใหญ่โต คุณไปแบบเล็กๆ ใช้ความคิดสร้างสรรค์บวกกับวัฒนธรรมของกัมพูชา แล้วมาต่อยอดธุรกิจ”

อ่านต่อที่

1. บทความที่แปลเป็นภาษาเกาหลี

https://blog.naver.com/thaibiz_diary/222415462611

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

ข่าวใกล้เคียง

ข่าวใกล้เคียง