(13) ซอฟต์แวร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

(13) ซอฟต์แวร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ก.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,702 view

THAI_BIZ_13_(1)

ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและยุคที่ประเทศกำลังมุ่งไปสู่การเป็นTHAILAND 4.0 อย่างเต็มรูปแบบบีโอไอได้ให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์มาตั้งแต่ปี 2539 และได้ปรับเงื่อนไขกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักการลงทุนมาโดยตลอดรวมทั้งคำนึงถึงความสมดุลในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัทซอฟต์แวร์อย่างสมเหตุสมผล

ดังนั้นการให้สิทธิและประโยชน์ทั้งรูปแบบภาษีและมิใช่ภาษีให้กับผู้ประกอบการไทยและต่างชาติจึงมีกรอบการพิจารณาที่เน้นถึงผลประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะในการที่จะช่วยให้ไทยพ้นจากการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง(Middle Income Trap)และยังต้องเพิ่มขีดความสามารถของประเทศให้เทียบเท่านานาประเทศด้วยเพราะทั่วโลกในปัจจุบันจะต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

การสนับสนุนและให้การส่งเสริมในหลากหลายอุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศถือเป็นหน้าที่บทบาทหลักของบีโอไอกิจการซอฟต์แวร์หรือดิจิทัลในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างยิ่ง รัฐบาลจึงได้ กำหนดให้อุตสาหกรรมนี้เป็นNewEngineof Growth แน่นอนว่าเมื่อทั่วโลกนึกถึงประเทศไทยก็มักจะนึกถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพราะฉะนั้นในบทความนี้จะสื่อให้เห็นตัวอย่างของบริษัทต่างๆที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในคลัสเตอร์ดิจิทัล

THAI_BIZ_13_(2)  

Online Booking Platformเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอซึ่งเป็นแพลทฟอร์มแนะนำและเปรียบเทียบสถานที่ท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆในแพลทฟอร์มจะมีทั้งระบบบริหารจัดการภายในบริษัทหรือสถานประกอบการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวต่างๆผู้ใช้งานสามารถใช้ระบบการรับจองทัวร์รถรับส่งห้องพักและบริการด้านอื่นๆได้ผ่าน MobileApplication ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในประเทศสามารถติดต่อกับบริษัทตัวแทนที่อยู่ต่างประเทศได้โดยใช้ระบบB2Bหรือติดต่อกับนักท่องเที่ยวโดยตรงได้เช่นกัน ระบบป้องกันนักท่องเที่ยวบนท้องทะเลเนื่องจากระบบจัดการเส้นทางเรือที่วิ่งในทะเล

จังหวัดนำร่องที่เป็น Smart Cities คือ จังหวัดเชียงใหม่และภูเก็ต โครงการประชารัฐส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็น Smart City อย่างเป็นรูปแบบโครงการเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลายโครงการที่ได้รับการส่งเสริมด้านซอฟต์แวร์ท่องเที่ยวยังมีอีกเป็นจำนวนมากทั้งที่เป็นกลุ่มStartupหรือเป็นบริษัทที่อยู่ในวงการท่องเที่ยวมาหลายสิบปีแล้วบริษัทที่มีโครงการลงทุนเพื่อขยายกิจการและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ขจัดอุปสรรค เช่น เรื่องภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งนี้เพื่อนำเทคโนโลยีสร้างสรรค์มาเป็นผลงานช่วยยกระดับมาตรฐานคุณภาพในการให้บริการการท่องเที่ยวในประเทศและช่วยยกระดับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในท้องถิ่นให้สามารถเชื่อมต่อกับตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศสุดท้ายนั่นจะช่วยการกระจายรายได้และนำรายได้เข้าสู่ประเทศ

THAI_BIZ_13_(3)  

THAILAND I LOVE U

การนำเทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาช่วยในภาคการท่องเที่ยวโดยสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือซิป้าเดิมได้มีการพัฒนาให้เกิดแพลทฟอร์มการท่องเที่ยวที่เป็นC2b และ B2c ให้เกิดขึ้นโดยนำรูปแบบ Application เดิมของ Chiangmai I Love U มาต่อยอดเพิ่มเติมให้เป็น Thailand I love U Platform ที่สามารถใช้งานในการวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเองให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่างๆมาปักหมุดทำการประชาสัมพันธ์และทำการตลาดในธรุกิจของตัวเองในแพลทฟอรม์ดังกล่าวอีกทั้งยังสามารถที่จะจองสั่งซื้อสินค้าบริการต่างๆได้ในขั้นตอนเดียวอย่างสะดวกและรวดเร็ว

การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวในลักษณะของTripManagementที่เหมาะสมกับLifestyleของคนรุ่นใหม่โดยการใช้ข้อมูลที่มีการปักหมุดที่ครบถ้วนจากผู้ประกอบการทางด้านการท่องเที่ยวและจากการปักหมุดของวิทยากรอาสา(Agent)ในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นการจองห้องพักโรงแรมที่ใกล้กับสถานที่ที่จะไปการเช่ารถร้านอาหารหรือแม้กระทั่งUnseenLocalต่างๆจะทำให้การวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเองเหมาะสมกับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีโดยมีการเชื่อมโยงกับSocialMediaต่างๆเช่นFacebook,Linkedin,YouTubeทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถแบ่งปันประสบการณ์การท่องเที่ยวได้อีกทั้งยังสามารถสร้างเส้นทางต่างๆไว้ให้สำหรับนักท่องเที่ยวอื่นๆได้นำไปใช้ได้อีกด้วย

การปักหมุดสำหรับผู้ประกอบการจะมีการแบ่งกลุ่มให้เป็นไปตามความต้องการของภาคธุรกิจและมีการสำรวจความต้องการของระบบที่จะพัฒนาขึ้นมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่เพื่อให้ระบบสามารถใช้งานได้ตรงความต้องการของผู้ใช้มีการใช้รูปที่เหมาะสมในการDisplayสินค้าการเขียนContentแบบมืออาชีพและการทำStoryTellingในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองซึ่งจะทำให้เกิดความน่าสนใจและเป็นแรงดึงดูดให้เกิดการใช้บริการเพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้ยังมีส่วนของระบบChannelManagementที่ใช้ในการทำe-MarketPlaceสำหรับเชื่อมโยงไปยังe-Commerceต่างๆได้อีกด้วย

ใน10จังหวัดที่จะมีการนำระบบThailandILoveUไปใช้แบ่งเป็น3ภาคคือภาคเหนือได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ลำปางและน่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่จังหวัดขอนแก่นนครราชสีมา ชัยภูมิและสกลนครภาคใต้ได้แก่จังหวัดภูเก็ตนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานีโดยทั้ง10จังหวัดนี้จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการท่องเที่ยวกันอย่างเป็นระบบเพื่อใช้ในการวางแผนการท่องเที่ยวข้ามภูมิภาคกันอีกด้วย

สำหรับรูปแบบBusinessModelที่จะเกิดขึ้นนี้จะมีเรื่องของการทำแพลทฟอร์มให้เกิดขึ้นมากกว่าการทำApplicationซึ่งจะมีความยั่งยืนของโครงการมากกว่าเนื่องจากเกิดจากความต้องการของชุมชนในพื้นที่และชุมชนยังมีส่วนร่วมในโครงการนี้โดยผ่านทางAgentซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชนที่จะทำให้เกิดความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนตลอดไปโดยใช้เทคโนโลยีทางด้านดิจิทัล

อ่านต่อที่

1. บทความที่แปลเป็นภาษาเกาหลี

https://blog.naver.com/thaibiz_diary/222421091579

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

ข่าวใกล้เคียง

ข่าวใกล้เคียง